วัดวรเชษฐาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

โดย เทพสุดา วงษ์คำสิงห์

หากท่านเดินทางมายังจังหวัดพระนครศรีอยุธยาแล้ว ยังไม่มีแผนการเดินทางไปที่ไหน จึงอยากจะแนะนำแหล่งท่องเที่ยวที่จะทำให้ท่านได้เห็นถึงแหล่งท่องเที่ยวทางศาสนาในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งในจังหวัดอยุธยานี้ก็ได้ขึ้นว่าเป็นมรดกโลกทางด้านแหล่งประวัติศาตร์ไทย และแสดงถึงความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาในสมัยก่อน มีวัดที่เป็นแหล่งประวัติศาสตร์สำคัญมากมายหลายแห่ง ยังมีวัดอีกวัดหนึ่งในอยุธยาที่จะนำเสนอซึ่งมีความสำคัญไม่แพ้วัดอื่น คู่ควรอนุรักษ์ไว้เพื่อเป็นสมบัติของคนไทย และวัดนี้ยังเป็นวัดที่บรรจุพระบรมอัฐิสมเด็จพระนเรศวร วัดแห่งนี้ก็คือ วัดวรเชษฐาราม

วัดวรเชษฐาราม หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วัดวรเชษฐ์ ตั้งอยู่ในทิศตะวันตกของพระราชวังโบราณในเขตกำแพงเมืองศรีอยุธยาในสมัยอยุธยา ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่สูงในชุมชนตลอดยอด แขวงขุนธรณีบาล มีคลองล้อมรอบ โดยด้านใต้ติดกับคลองฝางและวัดโลกยาสุธา ด้านตะวันออกติดกับวัดระฆัง หรือวัดวรโพธิ์ ด้านตะวันตกและด้านเหนือจะเป็นบริเวณตลาดยอดปัจจุบันนี้อยู่ในตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีอายุเกือบ 400 ปีมาแล้ว

วัดวรเชษฐารามแห่งนี้เป็นพระอารามหลวงเก่า ที่ตั้งอยู่ภายในเกาะเมือง โดยอยู่ระหว่างวัดโลกยสุธาราม และวัดวรโพธิ์ ได้สร้างขึ้นในรัชสมัยของสมเด็จพระเอกาทศรถ เมื่อปี พ.ศ. 2136 เพื่ออุทิศถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชพระเชษฐา ที่ได้สวรรคตลงขณะยกทัพไปเมืองตองอู โดยได้บรรจุพระบรมอัฐิไว้ภายในวัดวรเชษฐาราม ซึ่งเป็นสถานที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระเชษฐา

ซึ่งวัดวรเชษฐารามที่อยู่ในอยุธยานี้ ก็มีอยู่ทั้งสองแห่งด้วยกัน คือ ในเกาะเมืองและนอกเกาะเมือง ซึ่งก็มีความขัดแย้งกันอยู่ระหว่างพงศาวดารกับสถานที่ตั้ง เล่ากันว่า วัดวรเชษฐารามแห่งนี้ ได้เคยมีผู้ลักลอบขุดกรุเจดีย์ประฐานวัดวรเชษฐาราม โดยได้พบผอบบรรจุอัฐิซึ่งมีพระพุทธรูปนาคปรกล้อม อันเป็นพระพุทธรูปประจำวันพระราชสมภพ ของสมเด็จพระนเรศวร ซึ่งเป็นหลักฐานหนึ่งที่ทำให้เชื่อว่า วัดวรเชษฐารามแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระอัฐิของพระนเรศวรมหาราช

ในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยานั้นได้กล่าวถึงวัดวัดวรเชษฐารามไว้หลายฉบับ สรุปได้ว่า พระเอกาทศรถ เสด็จขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2418 ได้ทรงแต่พระเมรุถวายพระเพลิงถวายพระศพพระเชษฐาธิราช แล้วสร้างอุทิศพระราชกุศลถวายวัดหนึ่งชื่อว่าวัดวรเชษฐ์ ทรงสร้างพระวิหาร พระพุทธรูป พระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และหอพระธรรม แล้วนิมนต์พระสงฆ์ฝ่ายอรัญวาสีมาครองวัดนี้ ซึ่งสถาปัตยกรรมของวัดแห่งนี้จะอยู่ในช่วงสมัยอยุธยาตอนกลางอีกด้วย

ศานสถานและปูชนียวัตถุที่สำคัญภายในวัดวรเชษฐาราม ประกอบด้วย 3 แหล่งสำคัญ ดังนี้

1.พระวิหาร เป็นพระวิหารที่มีรูปแบบการสร้างด้วยการก่ออิฐถือปูนเฉพาะส่วนฐาน มีมุขเด็จบริเวณด้านหน้าและด้านหลังของตัวพระวิหาร ด้านข้างมีฐานเจดีย์ราย ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้น และมีพระพุทธรูปปางมารวิชัยเป็นประธาน

2.พระอุโบสถ จะตั้งอยู่ด้านข้างของพระวิหาร เป็นพระอุโบสถก่ออิฐถือปูน โดยปรากฏผนังทั้งสี่ด้าน มีช่องหน้าต่างขนาดเล็กแบบอยุธยาตอนกลาง ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย ซึ่งมีสภาพสมบูรณ์ เป็นประธาน ภายนอกพระอุโบสถล้อมรอบด้วยเสมา

3.เจดีย์ประธาน ตั้งอยู่ด้านหลังพระวิหาร เป็นเจดีย์ทรงระฆังสมัยอยุธยาตอนกลาง ตั้งอยู่บนฐานหน้ากระดานขนาดใหญ่ โดยมีบันไดอยู่บริเวณทางขึ้น ส่วนตัวองค์ระฆังมีชั้นมาลัยเถา เหนือองค์ระฆังเป็นบัลลังก์ รองรับเสาหานทีอยู่รอบก้านฉัตร ถัดขึ้นไปเป็นส่วนของปลียอด

วัดเชษฐารามนี้ก็ถือว่าเป็นศาสนสถานที่มีความสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในเขตอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาก็ว่าได้ และยังเป็นวัดที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดี ทางสถาปัตยกรรมนั้นยังแสดงให้เห็นถึงสมัยอยุธยาตอนกลาง และความเจริญรุ่งเรือนในสมัยอยุธยาทางด้านศาสนาอีกด้วย ซึ่งก็มีความสำคัญต่อการค้นคว้าโบราณคดีของแหล่งประวัติศาสตร์ไทย หากอยากลองสัมผัสแหล่งอารยธรรมสักแห่งในอยุธยาละก็ วัดแห่งนี้ก็ยังเป็นที่ท่องเที่ยวให้แก่ผู้คนที่อยากจะมาเที่ยวทางแหล่งศานสถานได้อีกด้วย

อ้างอิง 

Coming Thailand.(2557) พระนครศรีอยุธยา วัดวรเชษฐาราม. สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม พ.ศ 2557, จาก http://www.comingthailand.com/ayutthaya/wat-worachettharam.html

HolidayThai(ฉันรักวันหยุด). วัดวรเชษฐาราม. สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม พ.ศ 2557 , จาก http://www.holidaythai.com/Thailand-Attractions-3120.htm


ด้านหน้าทางเข้าวัดวรเชษฐาราม


พระประธานในวิหาร อยู่ด้านหน้าของเจดีย์ประธาน


เจดีย์ประธาน และพระอุโบสถ



No comments:

Post a Comment