วัดบรมพุทธาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

โดย  ธัญลักษณ์  แผ่นจินดา

ในประเทศไทยมีสถานโบราณคดีที่ยังหลงเหลือให้เห็นอยู่มากมาย ทั้งที่ยังคงสภาพสมบูรณ์อยู่และที่หักพังไปบ้างแล้วหรือที่เหลือสภาพบางส่วนให้เห็น จังหวัดพระนครศรีอยุธยาก็เป็นจังหวัดที่มีโบราณสถานที่มีคุณค่าอยู่มากมาย เช่น วัดบรมพุทธาราม ซึ่งเป็นที่วัดมีความสำคัญและน่าสนใจมากอีกวัดหนึ่ง.

วัดบรมพุทธาราม หรือ ที่เรียกกันว่า วัดกระเบื้องเคลือบ ตั้งอยู่ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นวัดเก่าแก่ที่ สมเด็จพระเพทราชา โปรดฯ ให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2226 ในบริเวณย่านป่าตองซึ่งจัดเป็นนิวาสสถานเดิมของพระองค์ ศาสนสถานที่สร้างขึ้นนั้น โปรดฯ ให้หมื่นจันทรา ช่างเคลือบกระเบื้องสี ให้มามุงหลังคาด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลือง ทั้งพระอุโบสถ พระวิหาร ศาลาการเปรียญ ซึ่งแตกต่างจากวัดอื่น และนี่ก็เป็นที่มาของนามวัด

ด้านภาพจิตรกรรม ภาพจิตกรรมพบในวัดนี้ก็มีความสวยงามซึ่งถือเป็นหนึ่งในจุดเด่นของวัดนี้คือพบที่บานแผละหน้าต่าง (ผนังตอนที่บานประตูหน้าต่างเมื่อเปิดเข้าไปแล้วจะแปะอยู่) เป็นพื้นลายพุ่มข้าวบิณฑ์ บานแผละประตูหลังด้านขวาพระประธานจะมีภาพลางๆคล้ายคนนั่งในปราสาทบานแผละประตูหลังด้านซ้ายพระประธานจะมีกรอบเส้นสินเทาและเส้นหลังคาปราสาทสีที่ใช้เท่าที่ปรากฏจะมีสีเขียว ส่วนสีดำลงเป็นพื้นพุ่มข้าวบิณฑ์และลายกระหนกที่ล้อมรอบพุ่มข้าวบิณฑ์

พุ่มข้าวบิณฑ์แต่ละบานแผละจะมีลักษณที่แตกต่างกันบางแห่งเป็นลายพันธุ์พฤกษาและบางแห่งเป็นลายกระหนกเขียนสีลงบนผนังปูนฉาบที่เรียบสีขาว เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานของกรมศิลปากรเข้าไปทำการดูแลอนุรักษ์ภาพจิตรกรรมเหล่านั้นไว้ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ภาพจิตรกรรมเหล่านั้นลบเลือนไปจนแทบจะไม่ปรากฏให้เห็นอีกแล้งในปัจจุบัน

ศาสนสถานและโบราณวัตถุภายในวัดบรมพุทธาราม มีดังนี้

พระอุโบสถ ซึ่งเป็นประธานของวัด ตั้งอยู่บนฐานแอ่นซึ่งมีลักศณะโค้งแบบเรือสำเภา และเป็นศิลปะอยุธยาตอนปลาย มีมุขโถงด้านหน้าและหลังของพระอุโบสถด้วย ด้านหน้ามีประตู 3 ช่อง ส่วนด้านหลังมีช่องประตู 2 ช่อง ด้านข้างนั้นมีช่องหน้า ที่ถูกประดับด้วยบันแถลง และภายในประดิษฐานด้วยพระพุธรูปหินทรายถือปูน ปางมารวิชัยอันเป็นประธาน

พระวิหาร ตั้งอยู่ด้านข้างของพระอุโบสถ โดยจะปรากฏเพียงแค่ส่วนของฐานและผนังเท่านั้น

ปรางค์เจดีย์ ตั้งอยู่ด้านหน้าพระอุโบสถ ซึ่งเป็นปรางค์ย่อมุมไม้ยี่สิบแปด ฐานล่างจะประดับไปด้วยลายแข้งสิงห์ ส่วนฐานบนจะมีซุ้มเรือนธาตุทั้งสี่ด้าน

เจดีย์ย่อมุม ตั้งอยู่ด้านหน้าปรางค์เจดีย์ ฐานล่างย่อมุมไม้สิบสอง ส่วนด้านหน้านั้นจะมีบันไดทางขึ้น ส่วนบนเป็นฐานเจดีย์ ที่ประดับด้วยลวดบัวและลายแข้งสิงห์ โดยส่วนยอดได้พังทลายลงแล้ว

วัดบรมพุทธารามนอกจากจะมีลักษณะลักษณ์เด่นโดยการมุงหลังคาด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลืองแล้ว พระอุโบสถของวัดนี้ก็ยังเป็นศิลปะอยุธยาตอนปลายด้วย แม้ว่าภาพจิตรกรรมบางส่วนในวัดนี้อาจจะถูกลบเลือนไปบ้างแล้วแต่ก็ยังถือว่าเป็นวัดที่มีความสำคัญอีกวัดหนึ่งของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และที่สำคัญยังเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจและต้องการจะศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับสถานโบราณด้วย

อ้างอิง

Coming Thailand. (ม.ป.ป). วัดพุทธาราม. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2557, จาก http://www.comingthailand.com/ayutthaya/wat-boromphuttharam.html

Watboran. (ม.ป.ป). วัดพุทธาราม. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2557, จาก http://watboran.wordpress.com/category/


เจดีย์ย่อมุมที่ยอดหักพัง และพระปรางค์เจดีย์


พระปรางค์เจดีย์ย่อมุมไม้ยี่สิบแปด


พระอุโบสถประดิษฐานพระประธานอยู่ภายใน


No comments:

Post a Comment