โดย รุ้งตะวัน ทุมสิทธิ์
พระปรางค์สามยอดเป็นโบราณสถานที่มีความสำคัญมากของจังหวัดลพบุรี เป็นสถานที่ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป เพราะเมื่อถามถึงจังหวัดลพบุรีคาดว่ามากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์จะคิดถึงศาลพระกาฬ พระปรางค์สามยอด และงานโต๊ะจีนลิง องค์พระปรางค์สามยอดอยู่ฝั่งตรงข้ามกับศาลพระกาฬ จึงเป็นโบราณสถานที่เมื่อนักท่องเที่ยวแวะมาไหว้เคารพสักการะเจ้าพ่อพระกาฬแล้วต้องแวะมาเที่ยวปรางค์สามยอดกันทุกคน
แต่ก่อนอื่นๆ เรามาทำความรู้จักความสำคัญของเมืองลพบุรีกันก่อน ลพบุรีหรือชื่อดั้งเดิมคือ เมืองละโว้ เป็นเมืองแห่งความหลากหลายและต่อเนื่องทางวัฒนธรรมมายาวนานกว่า 3,000 ปี ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบัน ตั้งแต่สมัยทวาราวดี (พุทธศตวรรษที่ 11-16) ลพบุรีได้ตกอยู่ใต้อำนาจมอญและขอมจนกระทั่งในตอนต้นของพุทธศตวรรษที่ 19 คนไทยจึงเริ่มมีอำนาจขึ้นในดินแดนแถบนี้ หลังจากนั้นมาเมืองลพบุรีได้ลดความสำคัญลงไป จนกระทั่งมาถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 2199-2213) ลพบุรีได้รับการทำนุบำรุงครั้งใหญ่ สืบเนื่องมาจากการคุกคามของชนชาติฮอลันดาที่ติดต่อค้าขายกับไทย ทำให้สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงสร้างเมืองลพบุรีเป็นราชธานีแห่งที่สองขึ้น เพราะลพบุรีมีลักษณะทางยุทธศาสตร์เหมาะสมในการป้องกันพระนคร โดยได้รับความช่วยเหลือจากช่างชาวฝรั่งเศสและอิตาลี อีกทั้งพระองค์ยังได้ประทับอยู่ที่ลพบุรีเป็นส่วนใหญ่ และโปรดให้ทูตและชาวต่างประเทศเข้าเฝ้าพระองค์ที่เมืองนี้หลายครั้ง
ส่วนพระปรางค์สามยอด ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำคัญของเมืองลพบุรี ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าหิน อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี บนเนินดินด้านตะวันตกของทางรถไฟ ใกล้กับศาลพระกาฬ มีลักษณะเป็นปรางค์เรียงต่อกันสามองค์ สูงประมาณ 15 เมตร ทั้งปรางค์สามองค์มีทางเดินเชื่อมต่อกันโดยตลอด เป็นศิลปะเขมรแบบบายน ปัจจุบันเครื่องประดับที่หุ้มจะร่วงลงมาบ้างบางส่วนแต่ก็ยังสามารถสังเกตได้ว่าการประดับภายนอกของปรางค์มีการจัดทำด้วยความประณีต ซึ่งมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 ด้านในองค์พระปรางค์ทั้งสามยอด เดิมได้โบกปูนไว้อย่างประณีตเหมือนด้านนอก ปัจจุบันปูนเหล่านั้นได้ถูกกะเทาะออกเกือบหมดแล้ว ภายในองค์ปรางค์ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช โปรดฯ ให้อัญเชิญพระพุทธรูปศิลาปางสมาธิขนาดใหญ่มาประดิษฐาน ซึ่งเป็นศิลปะแบบสมัยอยุธยาตอนต้น อายุราวพุทธศตวรรษที่ 20 มาประดิษฐานไว้ด้วย
พระปรางค์สามยอดนี้สันนิษฐานว่าแต่เดิมเป็นเทวสถานของขอมในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน ปรางค์องค์กลางมีฐานแต่เดิมเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปและมีเพดานไม้เขียนลวดลายเป็นดอกจันทน์สีแดง องค์ขวาประดิษฐานพระพุทธรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร องค์ซ้ายประดิษฐานรูปนางปรัชญาบารมิตาหรือนางปัญญาบารมี ชายาของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ต่อมาได้ดัดแปลงเป็นเทวสถาน สังเกตได้โดยจะมีฐานศิวลึงค์ปรากฏอยู่ในองค์ปรางค์ทั้งสามองค์ ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จึงได้บูรณะปฏิสังขรณ์พระปรางค์สามยอดให้เป็นวัดในพุทธศาสนา แล้วสร้างพระวิหารก่อด้วยอิฐ ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบอยุธยาผสมแบบยุโรป ในส่วนของประตูและหน้าต่าง ภายในวิหารประดิษฐานพุทธรูปหินทรายปางมารวิชัย ศิลปะในสมัยอยุธยาตอนต้น ปัจจุบันเหลือแต่รอยฐานที่ก่อขึ้นสำหรับไว้พระพุทธรูปเท่านั้น
รูปทรงของพระรางค์มีลักษณะป้อมๆ มีผู้เปรียบว่าปรางค์สามยอดมีลักษณะเหมือนงาช้างแรกงอกหรือหัวปลีหงาย รอบๆองค์พระปรางค์มีลวดลายปูนปั้นที่ประณีตงดงาม ถ้าสังเกตลวดลายปูนปั้นให้ดีจะเห็นว่ามีความแตกต่างของฝีมือช่าง คือ ลวดลายที่อยู่ตอนบนเป็นลายละเอียดนูนและลึกมาก เข้าใจว่าเป็นฝีมือดั้งเดิม ส่วนตอนล่างๆ เป็นลายบางๆ ไม่นูนและลึกมาก เข้าใจว่าเป็นการซ่อมเสริมสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตรงซุ้มประตูเดิมมีทับหลัง แต่ที่เหลือในปัจจุบัน คือ เสาประดับกรอบประตูแกะสลักเป็นรูปฤๅษีนั่งชันเข่าในซุ้มเรือนแก้ว ซึ่งเป็นแบบเฉพาะของเสาประดับกรอบประตูศิลปะเขมรแบบบายน นอกจากนั้นยังมีลวดลายการตกแต่งส่วนต่างๆ ที่งดงาม เช่น
ลวดลายประดับส่วนยอดหรือศิขระ สร้างด้วยหินทรายเป็นรูปบัวคว่ำบัวหงายซ้อนกัน 3 ชั้น ถัดลงมาเป็นการยกเก็จสามเก็จตรงด้านและมุมประดับ ด้วยกลีบขนุนทำจากศิลาแลง และบางส่วนทำจากปูนปั้นเป็นรูปบุคคลยืนอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว
บัวรัดเกล้าเรือนธาตุ ประกอบไปด้วย แถวบนสุดเป็นลายดอกไม้กลม ถัดลงมาปั้นปูนเป็นรูปกลีบบัวหงาย แถวถัดลงมาเป็น ลายดอกซีกดอกซ้อน รูปหงส์ ลายกลีบบัวหงาย ลายก้านขด และดอกบัวตูม เรียงเป็นแถว ลวดลายละ 1 แถวรวมเป็น 3 แถว จบด้วยลายกรวยเชิงเป็นรูปเกียรติมุข (หน้ากาล) คายเฟื่องอุบะ
ตอนกลางของเรือนธาตุ มีลายปูนปั้นประดับเป็นลายก้านขดที่แถวบนสุด ถัดลงมาเป็นบัวฟันยักษ์คว่ำ หน้ากระดานเป็นลายกระจังประกอบกัน เป็นลาย กากบาทแทรกด้วยลายประจำยามลายเล็กและลายดอกซีกดอกซ้อน ถัดลงมาเป็นลายกลีบบัวหงาย ลายกระหนกวงโค้ง ลายดอกบัว ตอนล่างสุดเป็นลายกรวยเชิงตามลำดับ
บัวเชิงเรือนธาตุ ด้านบนสุดเป็นรูปใบหน้าของชาวจามที่เป็นศัตรูกับชาวเขมรที่ถูกประดิษฐ์เป็นใบหน้าของยักษ์ประกอบกับลายกรวยเชิง อันเป็นที่ นิยมมากในศิลปะแบบบายนของกัมพูชา ถัดลงมาเป็นลายดอกบัว สันลูกแก้วอกไก่เป็นลายรักร้อย และบัวฟันยักษ์คว่ำ ลายก้านขด และดอกซีกดอกซ้อน ลายละหนึ่งแถวตามลำดับ นับเป็นร่องรอยความงดงามแห่งอดีตที่หลงเหลือมาให้พวกเราได้ศึกษาเรียนรู้กัน
ผู้ใดที่สนใจอยากมาเที่ยวชนพระปรางค์สามยอดสามารถเดินทางมาได้ เปิดให้เข้าชมตั้งแต่เวลา 07.00-17.00 น. เว้นวันจันทร์และอังคาร มีค่าธรรมเนียมเข้า คนไทยท่านละ 10 บาท ชาวต่างชาติคนละ 30 เท่านั้นในบริเวณข้างๆมีอาหารลิงจำหน่ายเป็นพวกถั่ว และกล้วยบริการ ในบริเวณปรางค์สามยอดนั้น เป็นบริเวณที่มีลิงเต็มไปหมดและก็จะมีนักท่องเที่ยวที่ซื้ออาหารมาฝากลิงเหล่านี้เป็นประจำ ให้อาหารลิงอย่างใกล้ชิด อาหารพวกนมเปรี้ยว นมหวานเป็นอาหารที่ลิงชอบกินมากๆ และก็นับได้ว่าเป็นสีสันอีกอย่างหนึ่งในการมาเที่ยวจังหวัดลพบุรี
ผู้ที่ได้มาเยือนเมืองลพบุรี ควรต้องมาสัมผัสกับความวิจิตรพิสดารของพระปรางค์สามยอดสักครั้งหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นฝีมือจำหลักหินทรายที่ยอดเยี่ยมหรือลวดลายปูนปั้นได้ราวกับมีชีวิตและวิญญาณ ทั้งทัศนียภาพขององค์พระปรางค์สามยอดที่ตัดกับท้องนภาสีฟ้า และพื้นหญ้าสีเขียวกับความวุ่นวายของเหล่าลิงน้อยใหญ่ที่วนเวียนคอยหาอาหารจากนักท่องเที่ยว เชื่อแน่นอนว่าจะต้องรู้สึกประทับใจไม่แพ้ที่อื่นแน่นอนค่ะ
อ้างอิง
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). ลพบุรี ธานีแห่งอารยธรรม. กรุงเทพฯ:กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ
บริษัท ไทยทัวร์ อินโฟ จำกัด. พระปรางค์สามยอด(ออนไลน์). สืบค้นจาก: http://place.thai-tour.com/lopburi/mueanglopburi/1666 . (วันที่ค้นข้อมูล 18 กันยายน 58)
ไปด้วยกันดอทคอม. พระปรางค์สามยอด(ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://www.paiduaykan.com/province/central/lopburi/prangsamyod.html . (วันที่ค้นข้อมูล 29 พฤศจิกายน 58)
พระปรางค์สามยอดเป็นโบราณสถานที่มีความสำคัญมากของจังหวัดลพบุรี เป็นสถานที่ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป เพราะเมื่อถามถึงจังหวัดลพบุรีคาดว่ามากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์จะคิดถึงศาลพระกาฬ พระปรางค์สามยอด และงานโต๊ะจีนลิง องค์พระปรางค์สามยอดอยู่ฝั่งตรงข้ามกับศาลพระกาฬ จึงเป็นโบราณสถานที่เมื่อนักท่องเที่ยวแวะมาไหว้เคารพสักการะเจ้าพ่อพระกาฬแล้วต้องแวะมาเที่ยวปรางค์สามยอดกันทุกคน
แต่ก่อนอื่นๆ เรามาทำความรู้จักความสำคัญของเมืองลพบุรีกันก่อน ลพบุรีหรือชื่อดั้งเดิมคือ เมืองละโว้ เป็นเมืองแห่งความหลากหลายและต่อเนื่องทางวัฒนธรรมมายาวนานกว่า 3,000 ปี ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบัน ตั้งแต่สมัยทวาราวดี (พุทธศตวรรษที่ 11-16) ลพบุรีได้ตกอยู่ใต้อำนาจมอญและขอมจนกระทั่งในตอนต้นของพุทธศตวรรษที่ 19 คนไทยจึงเริ่มมีอำนาจขึ้นในดินแดนแถบนี้ หลังจากนั้นมาเมืองลพบุรีได้ลดความสำคัญลงไป จนกระทั่งมาถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 2199-2213) ลพบุรีได้รับการทำนุบำรุงครั้งใหญ่ สืบเนื่องมาจากการคุกคามของชนชาติฮอลันดาที่ติดต่อค้าขายกับไทย ทำให้สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงสร้างเมืองลพบุรีเป็นราชธานีแห่งที่สองขึ้น เพราะลพบุรีมีลักษณะทางยุทธศาสตร์เหมาะสมในการป้องกันพระนคร โดยได้รับความช่วยเหลือจากช่างชาวฝรั่งเศสและอิตาลี อีกทั้งพระองค์ยังได้ประทับอยู่ที่ลพบุรีเป็นส่วนใหญ่ และโปรดให้ทูตและชาวต่างประเทศเข้าเฝ้าพระองค์ที่เมืองนี้หลายครั้ง
ที่มา: http://www.unseentravel.com/
ส่วนพระปรางค์สามยอด ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำคัญของเมืองลพบุรี ตั้งอยู่ที่ตำบลท่าหิน อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี บนเนินดินด้านตะวันตกของทางรถไฟ ใกล้กับศาลพระกาฬ มีลักษณะเป็นปรางค์เรียงต่อกันสามองค์ สูงประมาณ 15 เมตร ทั้งปรางค์สามองค์มีทางเดินเชื่อมต่อกันโดยตลอด เป็นศิลปะเขมรแบบบายน ปัจจุบันเครื่องประดับที่หุ้มจะร่วงลงมาบ้างบางส่วนแต่ก็ยังสามารถสังเกตได้ว่าการประดับภายนอกของปรางค์มีการจัดทำด้วยความประณีต ซึ่งมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 ด้านในองค์พระปรางค์ทั้งสามยอด เดิมได้โบกปูนไว้อย่างประณีตเหมือนด้านนอก ปัจจุบันปูนเหล่านั้นได้ถูกกะเทาะออกเกือบหมดแล้ว ภายในองค์ปรางค์ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช โปรดฯ ให้อัญเชิญพระพุทธรูปศิลาปางสมาธิขนาดใหญ่มาประดิษฐาน ซึ่งเป็นศิลปะแบบสมัยอยุธยาตอนต้น อายุราวพุทธศตวรรษที่ 20 มาประดิษฐานไว้ด้วย
พระปรางค์สามยอดนี้สันนิษฐานว่าแต่เดิมเป็นเทวสถานของขอมในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน ปรางค์องค์กลางมีฐานแต่เดิมเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปและมีเพดานไม้เขียนลวดลายเป็นดอกจันทน์สีแดง องค์ขวาประดิษฐานพระพุทธรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร องค์ซ้ายประดิษฐานรูปนางปรัชญาบารมิตาหรือนางปัญญาบารมี ชายาของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ต่อมาได้ดัดแปลงเป็นเทวสถาน สังเกตได้โดยจะมีฐานศิวลึงค์ปรากฏอยู่ในองค์ปรางค์ทั้งสามองค์ ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จึงได้บูรณะปฏิสังขรณ์พระปรางค์สามยอดให้เป็นวัดในพุทธศาสนา แล้วสร้างพระวิหารก่อด้วยอิฐ ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบอยุธยาผสมแบบยุโรป ในส่วนของประตูและหน้าต่าง ภายในวิหารประดิษฐานพุทธรูปหินทรายปางมารวิชัย ศิลปะในสมัยอยุธยาตอนต้น ปัจจุบันเหลือแต่รอยฐานที่ก่อขึ้นสำหรับไว้พระพุทธรูปเท่านั้น
รูปทรงของพระรางค์มีลักษณะป้อมๆ มีผู้เปรียบว่าปรางค์สามยอดมีลักษณะเหมือนงาช้างแรกงอกหรือหัวปลีหงาย รอบๆองค์พระปรางค์มีลวดลายปูนปั้นที่ประณีตงดงาม ถ้าสังเกตลวดลายปูนปั้นให้ดีจะเห็นว่ามีความแตกต่างของฝีมือช่าง คือ ลวดลายที่อยู่ตอนบนเป็นลายละเอียดนูนและลึกมาก เข้าใจว่าเป็นฝีมือดั้งเดิม ส่วนตอนล่างๆ เป็นลายบางๆ ไม่นูนและลึกมาก เข้าใจว่าเป็นการซ่อมเสริมสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตรงซุ้มประตูเดิมมีทับหลัง แต่ที่เหลือในปัจจุบัน คือ เสาประดับกรอบประตูแกะสลักเป็นรูปฤๅษีนั่งชันเข่าในซุ้มเรือนแก้ว ซึ่งเป็นแบบเฉพาะของเสาประดับกรอบประตูศิลปะเขมรแบบบายน นอกจากนั้นยังมีลวดลายการตกแต่งส่วนต่างๆ ที่งดงาม เช่น
ลวดลายประดับส่วนยอดหรือศิขระ สร้างด้วยหินทรายเป็นรูปบัวคว่ำบัวหงายซ้อนกัน 3 ชั้น ถัดลงมาเป็นการยกเก็จสามเก็จตรงด้านและมุมประดับ ด้วยกลีบขนุนทำจากศิลาแลง และบางส่วนทำจากปูนปั้นเป็นรูปบุคคลยืนอยู่ในซุ้มเรือนแก้ว
ที่มา : http://www.oknation.net/
บัวรัดเกล้าเรือนธาตุ ประกอบไปด้วย แถวบนสุดเป็นลายดอกไม้กลม ถัดลงมาปั้นปูนเป็นรูปกลีบบัวหงาย แถวถัดลงมาเป็น ลายดอกซีกดอกซ้อน รูปหงส์ ลายกลีบบัวหงาย ลายก้านขด และดอกบัวตูม เรียงเป็นแถว ลวดลายละ 1 แถวรวมเป็น 3 แถว จบด้วยลายกรวยเชิงเป็นรูปเกียรติมุข (หน้ากาล) คายเฟื่องอุบะ
ตอนกลางของเรือนธาตุ มีลายปูนปั้นประดับเป็นลายก้านขดที่แถวบนสุด ถัดลงมาเป็นบัวฟันยักษ์คว่ำ หน้ากระดานเป็นลายกระจังประกอบกัน เป็นลาย กากบาทแทรกด้วยลายประจำยามลายเล็กและลายดอกซีกดอกซ้อน ถัดลงมาเป็นลายกลีบบัวหงาย ลายกระหนกวงโค้ง ลายดอกบัว ตอนล่างสุดเป็นลายกรวยเชิงตามลำดับ
ที่มา : http://www.oknation.net/
บัวเชิงเรือนธาตุ ด้านบนสุดเป็นรูปใบหน้าของชาวจามที่เป็นศัตรูกับชาวเขมรที่ถูกประดิษฐ์เป็นใบหน้าของยักษ์ประกอบกับลายกรวยเชิง อันเป็นที่ นิยมมากในศิลปะแบบบายนของกัมพูชา ถัดลงมาเป็นลายดอกบัว สันลูกแก้วอกไก่เป็นลายรักร้อย และบัวฟันยักษ์คว่ำ ลายก้านขด และดอกซีกดอกซ้อน ลายละหนึ่งแถวตามลำดับ นับเป็นร่องรอยความงดงามแห่งอดีตที่หลงเหลือมาให้พวกเราได้ศึกษาเรียนรู้กัน
ที่มา : http://www.oknation.net/
ผู้ใดที่สนใจอยากมาเที่ยวชนพระปรางค์สามยอดสามารถเดินทางมาได้ เปิดให้เข้าชมตั้งแต่เวลา 07.00-17.00 น. เว้นวันจันทร์และอังคาร มีค่าธรรมเนียมเข้า คนไทยท่านละ 10 บาท ชาวต่างชาติคนละ 30 เท่านั้นในบริเวณข้างๆมีอาหารลิงจำหน่ายเป็นพวกถั่ว และกล้วยบริการ ในบริเวณปรางค์สามยอดนั้น เป็นบริเวณที่มีลิงเต็มไปหมดและก็จะมีนักท่องเที่ยวที่ซื้ออาหารมาฝากลิงเหล่านี้เป็นประจำ ให้อาหารลิงอย่างใกล้ชิด อาหารพวกนมเปรี้ยว นมหวานเป็นอาหารที่ลิงชอบกินมากๆ และก็นับได้ว่าเป็นสีสันอีกอย่างหนึ่งในการมาเที่ยวจังหวัดลพบุรี
ผู้ที่ได้มาเยือนเมืองลพบุรี ควรต้องมาสัมผัสกับความวิจิตรพิสดารของพระปรางค์สามยอดสักครั้งหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นฝีมือจำหลักหินทรายที่ยอดเยี่ยมหรือลวดลายปูนปั้นได้ราวกับมีชีวิตและวิญญาณ ทั้งทัศนียภาพขององค์พระปรางค์สามยอดที่ตัดกับท้องนภาสีฟ้า และพื้นหญ้าสีเขียวกับความวุ่นวายของเหล่าลิงน้อยใหญ่ที่วนเวียนคอยหาอาหารจากนักท่องเที่ยว เชื่อแน่นอนว่าจะต้องรู้สึกประทับใจไม่แพ้ที่อื่นแน่นอนค่ะ
อ้างอิง
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). ลพบุรี ธานีแห่งอารยธรรม. กรุงเทพฯ:กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ
บริษัท ไทยทัวร์ อินโฟ จำกัด. พระปรางค์สามยอด(ออนไลน์). สืบค้นจาก: http://place.thai-tour.com/lopburi/mueanglopburi/1666
ไปด้วยกันดอทคอม. พระปรางค์สามยอด(ออนไลน์). สืบค้นจาก
No comments:
Post a Comment