ศิลปะในสมัยสุโขทัยนั้น มีสิ่งต่างๆที่น่าสนใจมากมายให้ผู้ที่สนใจในทางประวัติศาสตร์นั้นได้ศึกษาหาความรู้ สิ่งที่เป็นที่น่าสนใจอย่างมากในศิลปะสุโขทัยนั้นก็ไม่พ้น เจดีย์ในวัดเจ็ดแถวแน่นอน เพราะมีความงดงาม และเป็นเอกลักษณ์อย่างมาก เจดีย์ในวัดเจ็ดแถวนั้น มีสามรูปแบบด้วยกันก็คือ เจดีย์ทรงปราสาท เจดีย์ทรงระฆัง และที่จะกล่าวถึงในที่นี้ก็คือ เจดีย์ทรงยอดบัวตูมหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์นั่นเอง
วัดเจดีย์เจ็ดแถว ตั้งอยู่ด้านหน้าวัดช้างล้อม นับว่ามีความสวยงามมากกว่าวัดอื่นในเมืองสุโขทัย เพราะมีเจดีย์แบบต่าง ๆ กันมากมายที่เป็นศิลปะสุโขทัยแท้ และเป็นศิลปะแบบศรีวิชัยผสมสุโขทัย โบราณสถานที่สำคัญคือ เจดีย์ประธานรูปดอกบัวตูมอยู่ด้านหลังพระวิหาร และมีเจดีย์รายรวมทั้งอาคารขนาดเล็กแบบต่าง ๆ จำนวน 33 องค์ มีกำแพงแก้วล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง นอกกำแพงมีโบสถ์ และบ่อน้ำ เจดีย์รายที่วัดเจดีย์เจ็ดแถวมีรูปแบบที่ได้รับอิทธิพลศิลปะจากที่ต่าง ๆ หลายแห่ง เช่น ลังกา และพุกาม
ด้านหลังเจดีย์ประธานมีเจดีย์รายที่มีลักษณะเด่น คือ ฐานเป็นเจดีย์สี่เหลี่ยมจัตุรัส ยอดเป็นทรงกลม ภายในเจดีย์มีซุ้มโถง ส่วนซุ้มโถงเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปยืนปูนปั้น มีภาพจิตรกรรมเป็นภาพอดีตพระพุทธเจ้า และเหล่าเทวดากษัตริย์ ส่วนซุ้มจรนัมด้านหลังของเรือนธาตุทำเป็นพระพุทธรูปนาคปรก สาเหตุที่เรียกว่า วัดเจดีย์เจ็ดแถวเนื่องจากได้พบเจดีย์จำนวนมากหลายแถวภายในวัด และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่าวัดเจดีย์ เจ็ดแถวเป็นที่ประดิษฐานพระอัฐิของพระราชวงศ์สุโขทัย
เจดีย์ทรงดอกบัวตูมหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ มีลักษณะก็คือ ส่วนล่าง ฐานเขียงมีขนาดใหญ่ตั้งซ้อนเป็นชั้น สอบขึ้นเพื่อรองรับฐานบัวลูกแก้วอกไก่ ส่วนนี้มีผังรูปสี่เหลี่ยจัตุรัส เป็นแบบแผนเฉพาะของเจดีย์ทรงนี้ และปรากฏอยู่ที่เจด์ทรงอื่นบางองค์ของวัดนี้ด้วย ส่วนล่างที่ประกอบชุดฐานดังล่าว อาจเกี่ยวข้องกับระเบียบของส่วนล่างที่เจดีย์วัดกู่กุด เมืองลำพูน ขั้นบันได 2 ทางที่ด้านหน้าเร่มสอบจากฐาเขียงชั้นล่างสุดขึ้นมาเกือบบรรจบกันที่ส่วนบนขอฐานบัวลูกแก้วอกไก่ มีอยู่เฉพาะเจดีย์ประธานของวัด และมีอยู่ที่เจดีย์ประธาน (พระศรีมหาธาตุ) ของวัดมหาธาตุสุโขทัย ซึ่งเป็นเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมเช่นกัน ขั้นบันไดคู่อาจดัดแปลงจากบันไดเดี่ยวของสัตมหาปราสาทที่เมืองโปลลนนารุวะ ประเทศศรีลังกา ซึ่งสร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 17
ส่วนบน เป็นรูปกลีบขนุนและรูปกลีบบัวที่ประดับเหนือเรือนธาตุ เป็นองคืประกอบทีท่เชื่อมโยงให้เกิดความต่อเนื่องระหว่างเรือนธาตุกับส่วนบนทรงดอกบัวตูมยังสังเกตเห็นได้ ส่วนบนทรงดอกบัวตูมมีวงคล้ายวงแหวนรียงซ้อนกันเรียวขึ้นไป “ปลี”
สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรพระยานริศรานุวัดติวศ์ทรงเห็นว่ามีลักษณะ “คล้ายพระเจดีย์ลังกา” เจดีย์ทรงลังกามีองค์ระฆัง บัลลังค์รูปสี่เหลี่ยม และทรงกรวยที่ประกอบด้วยปล้องไฉน ต่อขึ้นไปเป็ฯปลี ด้วยแหตุนี้ปล้องแนและปลี เหนือทรงดอกบัวตูม จึงเทียบได้กับลักษณะที่มีอยู่ขององค์เจดีย์ทรงลังกา
เจดีย์ทรงนี้ที่ปรากฏเป็นเจดีย์รายขนาดเล็กบางองค์ เช่น เจดีย์รายหมายเลข 15,22 ได้รับการดัดแปลงเพิ่มขึ้น โดยทำด้านทั้งสองของส่วนล่างให้เป็นช่องลึก (จระนำ) สำหรับประดิษฐานพระพุทธรูปซึ่งส่วนใหญ่ชำรุด หรือถูกเคลื่อนย้ายไปแล้ว ช่องลึกขอทั้ง 4 ด้านดูคล้ายห้องคูหา ส่วนนี้ของเจดีย์ จึงมีโครงสร้างคล้ายมีเสากลางรองรับน้ำหนักที่กดลงจากส่วนบน
อ้างอิง
สันติ เล็กสุขุม. 2534. วัดเจดีย์เจ็ดแถว. กรุงเทพฯ: อักษรสัมพันธ์.
วัดเจดีย์เจ็ดแถว (ออนไลน์).สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2557, จาก: http://sisatchanalai.com
No comments:
Post a Comment