วัดศรีสวาย จังหวัดสุโขทัย

โดย นันทกานต์ เกษลา

เมื่อได้ยินการพูดถึงยุคสมัยสุโขทัย ชื่อแรกที่หลายๆคนต้องนึกถึงคือ "วัดศรีสวาย" ซึ่งเป็นหนึ่งในวัดที่มีความสวยงามและโดดเด่นในด้านสถาปัตกรรม เพราะยังมีกลิ่นอายของศิลปะแบบขอม จึงทำให้เป็นที่น่าสนใจของนักโบราณคดีและนักท่องเที่ยวหลายๆคน และด้วยในบริเวณตัววัดเองก็มีลักษณะการตกแต่งทั้งบริเวณภายนอกและภายในรูปแบบของขอม จึงทำให้ชวนหลงใหลมากขึ้น

วัดศรีสวายตั้งอยู่ในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ศรีศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย และมีสถาปัตยกรรมแบบขอม สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 18  ปรางค์ประธาน มีลักษณะเป็นปรางค์สามองค์ แต่มีค่อนข้างเพรียวกว่าแบบเขมรทั่วๆไป ตั้งอยู่บนฐานที่ไม่สูงมากนัก มีลวดลายปูนปั้นบางส่วนคล้ายลายบนเครื่องถ้วยจีน ในสมัยราชวงค์หยวน และมีทับหลังจำหลักเป็นรูปพระนารายณ์บรรทมศีลธุ์ ชิ้นส่วนของเทวรูปและพระศิวลึงค์ และปัจจุบันได้นำไปเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง

หลักฐานดังกล่าวเป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่า วัดศรีสวายเคยเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดูมาก่อน และตอนหลังก็ได้มีการแปลงเป็นพุทธสถาน โดยต่อเติมวิหารขึ้นที่ด้านหน้าในภายหลัง ส่วนในลักษณะเด่นของวัดแห่งนี้คือปูนปั้นรูปครุฑยุดนาค นางอัปสรและลายดอกไม้จีน

ด้านหน้าพระปรางค์เป็นที่ตั้งของพระวิหาร ซึ่งมีระเบีงคตล้อมรอบ และด้านหลังได้มีสระน้ำ ซึ่งมีเรียกว่า "สระลอยบาป" และสระแห่งนี้ เดิมใช้เป็นประกอบพิธีลอยบาปหรือล้างบาปตามความเชื่อ  และปรางค์สามองค์นี้ในคติวัชรยาน สามยอด หมายถึง พระไตรรัตนมหายานแต่จริงๆ ไม่เกี่ยวกับมหายานเลย ปรางค์องค์กลาง หมายถึง พระอาทิพุทธ หรือ พระวัชรสัตว์ หรือพระอมิตาภะ ปรางค์องค์ด้านข้าง คือ พระอวโลกิเตศวร พลังอำนาจและปัญญา ที่เฉียบคมดั่งวัชระลักษณะเดียวกันอยู่ที่ปรางค์สามยอด ในจังหวัดลพบุรี
ภายในพระวิหาร มีฐานชุกชีเป็นที่ประดิษฐานพระประธาน พระปรางค์ ภายในพระปรางค์มีงานจิตรกรรมฝาผนัง เป็นภาพลายเส้น แสดงรูปคนยืนพนมมือ ซึ่งค่อนข้างเลือนลาง ผนังด้านข้างพระวิหาร เป็นผนังก่ออิฐถือปูน มีช่องลมก่อด้วยอิฐ ช่องเว้นช่องเพื่อระบายอากาศ

ปรางค์วัดศรีสวายจึงแตกต่างจากปรางค์สมัยกรุงศรีอยุธยาซึ่งมีต้นแบบจาก ปรางค์ในศิลปะขอมและคล้ายคลึงแบบขอมมากกว่าปรางค์ในแบบของช่างสุโขทัย และเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสเมืองสุโขทัย ทรงพบรูปพระอิศวรและและโบราณวัตถุหินจำหลักเป็นทับหลังรูปพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ รูปพระนารายณ์สี่กร และชิ้นส่วนของเทวรูป และศิวลึงค์ทำด้วยสำริด จึงทรงสันนิษฐานว่า วัดศรีสวายนี้คงเป็นสถานที่พวกพราหมณ์ใช้ทำพิธีโล้ชิงช้า  แต่ต่อมาเมื่อคนไทยเข้ามาครอบครองกรุงสุโขทัย วัดนี้จึงถูกดัดแปลงให้เป็นวัดทางพระพุทธศาสนา

ถึงแม่ว่าเวลาผ่านไปนานแค่ไหน สถานที่แห่งนี้ยังคงเป็นที่น่าสนใจของหลายๆคน ทั้งคนไทยเราเองและยังรวมถึงนกท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ฉะนั้นเราควรจะอนุรักษ์สิ่งเหล่านี้ไว้เผื่อให้ลูกหลานของเราชื่นชม และเป็นแหล่งศึกษาความเป็นมา และความสำคัญของสิ่งเหล่านี้ และตัวผูเขียนเองก็เชื่อว่าหากใครไปสถานที่แห่งนี้แล้วจะได้รับความประทับใจกลับมา


อ้างอิง

วัดพระศรีสวาย สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2557,จาก www.SiamFreestyle.com

สื่อซีดีรายการ คันฉ่องส่องไทย สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2557

No comments:

Post a Comment