โดย อรณิชา สินธุอารีย์
สถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่มีความสวยงามและมีประวัติที่น่าศึกษาค้นคว้า ทั้งยังเป็นวัดสำคัญแห่งหนึ่งในสมัยสุโขทัยที่ดิฉันใคร่ขอนำเสนอในที่นี้ คือ วัดประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ หรือ เมืองสวางคบุรีในอดีต
วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่าน หมู่ที่ 3 ต.ผาจุก อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ เป็นวัดเก่าแก่ ถูกสร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย ทรงได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาในสมัยสุโขทัย เป็นวัดประจำเมือง สวางคบุรี เมืองที่เจริญรุ่งเรืองตั้งแต่ ในสมัยสุโขทัย แต่ก่อนเคยเป็นวัดที่จำพรรษาของพระฝาง ผู้นำชุมชนสมัยกรุงศรีอยุธยา สถานที่แห่งนี้เต็มไปด้วยศิลปะและสถาปัตยกรรมในสมัยสุโขทัย เป็นวัดที่มีเอกลักษณ์
สถานที่สำคัญๆของวัดพระฝาง มีอยู่ด้วยกัน 6 จุด 1.เจดีย์พระทันตธาตุ 2.วิหารหลวง 3.โบสถ์มหาบุตร หรือ โบสถ์สักยันต์ 4.โบสถ์พระสังกัจจายณ์5.รอยพระพุทธบาท 6.โบสถ์หลวงพ่อเชียงแสน ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1.เจดีย์พระทันตธาตุ พระมหาธาตุเป็นเจดีย์ทรงระฆังคว่ำ และเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หรือ ดอกบัวตูม แบบฉบับที่เป็นเอกลักษณ์ในสมัยสุโขทัย มีการคาดการณ์เปลี่ยนมาเป็นทรงลังกาในสมัยพระบรมโกศ และได้ทรงรับการบูรณะจาก รัชกาลที่4 ที่แห่งนี้ทรงเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ
2.วิหารหลวง เป็นวิหารสมัยสุโขทัย ลักษณะมีการเคลือบกระเบื้องสีขาว มีการสร้างบานประตูวิหารที่ประณีตและงดงามมาก ปัจจุบันบานประตูของจริงถูกนำไปเก็บรักษาไว้ที่วัดธรรมาธิปไตย ส่วนบานประตูที่วิหารหลวงนั้นเป็นการสร้างจำลองขึ้นใหม่ให้เหมือนบานประตูของจริง
3.โบสถ์มหาบุตร หรือ โบสถ์สักยันต์ ที่ตั้งของโบสถ์หันหน้าไปทางทิศตะวันตก แต่เดิมเคยเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปพระฝาง มีนักวิชาการสันนิษฐานว่า สร้างขึ้นโดย พระบาทสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่ในปัจจุบันเป็นที่ประดิษฐานพระฝางทรงเครื่องจำลอง ลักษณะภายในตัวโบสถ์มีการตกแต่งเพดานเป็นรูปลายดาว และบานประตูเป็นไม้แกะสลักประณีตและสวยงาม ภายนอกตัวโบสถ์มีใบเสมาล้อมรอบๆโบสถ์
4.โบสถ์พระสังกัจจายณ์ ภายในตัวโบสถ์เป็นที่ประดิษฐานพระสังกัจจายณ์เก่าแก่
5.รอยพระพุทธบาท รอยพระพุทธบาทจำลอง เป็นรอยพระพุทธบาทประจำหลักบนหินฉนวน ประดิษฐานอยู่บนแท่งกลางแจ้งใกล้กับพระมหาธาตุ และ
6.วิหารหลวงพ่อเชียงแสน ภายในวิหารเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อเชียงแสนซึ่งเป็นพระพุทธรูปสำริด ศิลปะสุโขทัยตอนปลาย
วัดพระฝางสวางบุรีมุนีนาถ ยังคงหลงเหลือศิลปะที่มีความงดงาม และเป็นเอกลักษณ์ในสมัยสุโขทัยไว้อย่างดีเยี่ยม เป็นวัดที่มีความเก่าแก่อย่างมาก และเป็นวัดที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองจังหวัดอุตรดิตถ์มาอย่างช้านาน เป็นวัดที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญๆมากมาย แม้แต่ก่อนวัดพระฝางได้มีสิ่งที่ชำรุดทรุดโทรมไปแล้วมากมาย แต่ปัจจุบันนี้ได้ถูกบูรณะวัดที่ทรุดโทรมขึ้นมาใหม่ เพื่อเป็นที่พึ่งทางจิตใจและเป็นที่เคารพบูชาของประชาชน และยังเป็นสถานที่สำคัญ ควรอย่างยิ่งในการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของศิลปะทางศาสนาของไทย ตั้งแต่สมัยอดีต ที่บรรพบุรุษไทยได้สร้างขึ้นมา เพื่อส่งต่อความเป็นไทยไว้ในชาวไทยรุ่นหลังได้เดินรอยตาม
อ้างอิง
วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2557, จาก http://www.thai-tour.com/thai-tour/north/uttaradit/data/place/wat_phrafang.html
สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดอุตรดิตถ์. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2557, จาก http://utt.onab.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=140:2009-06-04-04-37-22&catid=49:2008-10-29-14-45-26&Itemid=83
เว็บบล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา 418111 ประวัติศาสตร์ศิลปะในประเทศไทย และ418218 โบราณคดีในประเทศไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ข้อมูลในที่นี้มุ่งเน้นเพื่อให้สาระความรู้และความบันเทิง ไม่ใช่งานเขียนเชิงวิชาการและไม่เหมาะสำหรับการนำไปอ้างอิงต่อ
No comments:
Post a Comment