โดย นัยนา ตั้งดำรงวัฒน์
ในดินแดนล้านนา เป็นดินแดนที่ผู้คนมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง จึงมีวัดวาอารามเกิดขึ้นมากมาย ตามศรัทธาของผู้คน ในเมืองเชียงใหม่ก็เช่นกันที่มีวัดมากมายที่เกิดจากความศรัทธาของผู้คนทั้งในอดีตและปัจจุบัน และวัดสวนดอก ในจังหวัดเชียงใหม่ ก็เป็นวัดที่มีความสำคัญ และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแก่ผู้มาเยือนจังหวัดเชียงใหม่เสมอ
วัดสวนดอกสร้างขึ้นในสมัย พระเจ้ากือนาธรรมิกราช กษัตริย์ลำดับที่ 6 แห่งราชวงศ์มังราย (อาณาจักรล้านนา) เพื่อเป็นสถานที่อยู่และปฏิบัติธรรมของพระสงฆ์ และใช้เป็นสถานที่ทำบุญและประกอบพิธีกรรมตามประเพณีของชาวพุทธ พระเจ้ากือนาธรรมิกราช ได้ทรงพระราชทานอุทยานสวนดอกไม้ ซึ่งตามตำนานกล่าวว่า บริเวณอุทยานสวนดอกไม้นี้เต็มไปด้วยต้นพะยอม หรือมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า สวนดอกไม้พะยอม เป็นที่สร้างวัด พร้อมกับ พระราชทานนามวัดนี้ว่า วัดบุปผาราม ซึ่งหมายถึง วัดแห่งสวนดอกไม้ ต่อมานิยมเรียกสั้นๆว่า วัดสวนดอก
ในวัดสวนดอก เป็นที่ประดิษฐาน พระบรมธาตุเจดีย์ ที่สร้างสมัยพระเจ้ากือนาธรรมิกราช เมื่อปี พ.ศ.1916 เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งพระสุมนเถระนำมาจากกรุงสุโขทัย เป็นศิลปะลังกาวงศ์ผสมล้านนา ลักษณะฐานสี่เหลี่ยมมีทางขึ้น 4 ด้าน ชั้นกลางลักษณะระฆังคว่ำแบบเจดีย์ลังกา พระบรมเจดีย์องค์ใหญ่สูง 24 วา
พระเจ้าค่าคิง เป็นพระประธานในพระวิหารหลวง พระเจ้ากือนาธรรมิกราชโปรดให้ช่างสร้างขึ้นด้วยทองสำริด เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ มีขนาดเท่าพระวรกายของพระองค์ขณะประทับยืน หน้าตักกว้าง 2 เมตร สูง 2.5 เมตร ข้อมูลจากประชุมตำนานล้านนากล่าวว่า สร้างขึ้นโดยบัญชาของพระราชมารดาของพระเจ้ากือนา เพื่อถวายไว้แทนพระเจ้ากือนา เมื่อครั้งทรงประชวรหนัก จึงเป็นเหตุหนึ่งของการเรียกพระนามของพระพุทธรูปที่สร้างแทนพระองค์ว่า พระเจ้าค่าคิง
พระเจ้าเก้าตื้อ พระพุทธรูปหล่อด้วยทองสำริด ศิลปะแบบเชียงแสนฝีมือช่างล้านนาและสุโขทัย ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 3 เมตร สูง 4.70 เมตร หล่อด้วยทองสำริด ซึ่งมีน้ำหนัก 9 ตื้อ สร้างในสมัยพระเมืองแก้ว เมื่อ พ.ศ.2047 เพื่อเป็นพระประธานในวิหารวัดพระสิงห์ เมื่อหล่อเสร็จไม่สามารถชักลากเข้าเมืองได้ จึงได้ประดิษฐานเป็นองค์พระประธานในพระอุโบสถวัดสวนดอก
พระวิหารหลวง มีขนาดความกว้าง 12 วา 2 ศอกยาว 33 วา สร้างเมื่อพ.ศ.2474-2475 โดยครูบาเจ้าศรีวิชัยและเจ้าแก้วนวรัฐเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยมีลักษณะพิเศษคือเป็นวิหารโถงไม่มีฝาผนังมีแต่ระเบียงโดยรอบหน้าบันทั้งสองด้านมีลายปูนปั้นแบบเครือเถาศิลปะล้านนาที่สวยงาม
กู่ครูบาเจ้าศรีวิชัย สถานที่บรรจุอัฐิครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา สร้างเมื่อ พ.ศ.2490 เพื่อเป็นอนุสรณ์ในคราวที่ครูบาศรีวิชัยได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดสวนดอก เมื่อพ.ศ. 2474-2475 และเพื่อเป็นที่สักการบูชาของพุทธศาสนิกชนทั่วไป
กู่เจ้าหลวงเชียงใหม่ สถานที่บรรจุอัฐิ ตั้งแต่ปฐมกษัตริย์ถึงพระองค์สุดท้าย พระประยูรญาติ ในตระกูล ณ เชียงใหม่ และผู้สืบเชื้อสายสกุลเจ้าเจ็ดตน ในปี พ.ศ. 2451-2452 พระราชชายาดารารัศมีทรงพิจารณาเห็นว่า (กู่) อนุสาวรีย์เจ้าผู้ครองนครและพระประยูรญาติทั้งหลายตั้งอยู่ใกล้ริมฝั่งแม่น้ำปิง ทางทิศตะวันตก (ตลาดวโรรสแถวตรอกข่วงเมรุ) เป็นสถานที่ที่ไม่เหมาะสม เนื่องจากในฤดูฝน น้ำก็มักจะเข้าไปท่วมขังอยู่เป็นประจำ จึงย้ายมาตั้งไว้ที่วัดสวนดอก
วัดสวนดอกจึงถือได้ว่าเป็นวัดที่มีความสำคัญของชาวเชียงใหม่ทั้งในด้านพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นสถานที่ในการปฏิบัติธรรมและประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และด้านประวัติศาสตร์ของเมืองเชียงใหม่เพราะเป็นที่บรรจุอัฐิของเจ้าเชียงใหม่ และยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ จึงควรค่าแก่การอนุรักษ์ ดูแล รักษา ให้คงอยู่ตลอดไป
อ้างอิง
ประวัติวัดสวนดอก ค้นข้อมูล 19 มกราคม 2557, จาก http://suandokkayom.blogspot.com/p/blog-page_09.html
วัดสวนดอก พระอารามหลวง ค้นข้อมูล 19 มกราคม 2557, จาก http://www.watsuandok.com/about.php#about0
วัดสวนดอก วียงพระธาตุแห่งล้านนา ค้นข้อมูล 19 มกราคม 2557, จาก http://www.comingthailand.com/chiangmai/wat-suandok.html
ในดินแดนล้านนา เป็นดินแดนที่ผู้คนมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง จึงมีวัดวาอารามเกิดขึ้นมากมาย ตามศรัทธาของผู้คน ในเมืองเชียงใหม่ก็เช่นกันที่มีวัดมากมายที่เกิดจากความศรัทธาของผู้คนทั้งในอดีตและปัจจุบัน และวัดสวนดอก ในจังหวัดเชียงใหม่ ก็เป็นวัดที่มีความสำคัญ และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแก่ผู้มาเยือนจังหวัดเชียงใหม่เสมอ
วัดสวนดอกสร้างขึ้นในสมัย พระเจ้ากือนาธรรมิกราช กษัตริย์ลำดับที่ 6 แห่งราชวงศ์มังราย (อาณาจักรล้านนา) เพื่อเป็นสถานที่อยู่และปฏิบัติธรรมของพระสงฆ์ และใช้เป็นสถานที่ทำบุญและประกอบพิธีกรรมตามประเพณีของชาวพุทธ พระเจ้ากือนาธรรมิกราช ได้ทรงพระราชทานอุทยานสวนดอกไม้ ซึ่งตามตำนานกล่าวว่า บริเวณอุทยานสวนดอกไม้นี้เต็มไปด้วยต้นพะยอม หรือมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า สวนดอกไม้พะยอม เป็นที่สร้างวัด พร้อมกับ พระราชทานนามวัดนี้ว่า วัดบุปผาราม ซึ่งหมายถึง วัดแห่งสวนดอกไม้ ต่อมานิยมเรียกสั้นๆว่า วัดสวนดอก
ในวัดสวนดอก เป็นที่ประดิษฐาน พระบรมธาตุเจดีย์ ที่สร้างสมัยพระเจ้ากือนาธรรมิกราช เมื่อปี พ.ศ.1916 เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งพระสุมนเถระนำมาจากกรุงสุโขทัย เป็นศิลปะลังกาวงศ์ผสมล้านนา ลักษณะฐานสี่เหลี่ยมมีทางขึ้น 4 ด้าน ชั้นกลางลักษณะระฆังคว่ำแบบเจดีย์ลังกา พระบรมเจดีย์องค์ใหญ่สูง 24 วา
พระเจ้าค่าคิง เป็นพระประธานในพระวิหารหลวง พระเจ้ากือนาธรรมิกราชโปรดให้ช่างสร้างขึ้นด้วยทองสำริด เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ มีขนาดเท่าพระวรกายของพระองค์ขณะประทับยืน หน้าตักกว้าง 2 เมตร สูง 2.5 เมตร ข้อมูลจากประชุมตำนานล้านนากล่าวว่า สร้างขึ้นโดยบัญชาของพระราชมารดาของพระเจ้ากือนา เพื่อถวายไว้แทนพระเจ้ากือนา เมื่อครั้งทรงประชวรหนัก จึงเป็นเหตุหนึ่งของการเรียกพระนามของพระพุทธรูปที่สร้างแทนพระองค์ว่า พระเจ้าค่าคิง
พระเจ้าเก้าตื้อ พระพุทธรูปหล่อด้วยทองสำริด ศิลปะแบบเชียงแสนฝีมือช่างล้านนาและสุโขทัย ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 3 เมตร สูง 4.70 เมตร หล่อด้วยทองสำริด ซึ่งมีน้ำหนัก 9 ตื้อ สร้างในสมัยพระเมืองแก้ว เมื่อ พ.ศ.2047 เพื่อเป็นพระประธานในวิหารวัดพระสิงห์ เมื่อหล่อเสร็จไม่สามารถชักลากเข้าเมืองได้ จึงได้ประดิษฐานเป็นองค์พระประธานในพระอุโบสถวัดสวนดอก
พระวิหารหลวง มีขนาดความกว้าง 12 วา 2 ศอกยาว 33 วา สร้างเมื่อพ.ศ.2474-2475 โดยครูบาเจ้าศรีวิชัยและเจ้าแก้วนวรัฐเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยมีลักษณะพิเศษคือเป็นวิหารโถงไม่มีฝาผนังมีแต่ระเบียงโดยรอบหน้าบันทั้งสองด้านมีลายปูนปั้นแบบเครือเถาศิลปะล้านนาที่สวยงาม
กู่ครูบาเจ้าศรีวิชัย สถานที่บรรจุอัฐิครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา สร้างเมื่อ พ.ศ.2490 เพื่อเป็นอนุสรณ์ในคราวที่ครูบาศรีวิชัยได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดสวนดอก เมื่อพ.ศ. 2474-2475 และเพื่อเป็นที่สักการบูชาของพุทธศาสนิกชนทั่วไป
กู่เจ้าหลวงเชียงใหม่ สถานที่บรรจุอัฐิ ตั้งแต่ปฐมกษัตริย์ถึงพระองค์สุดท้าย พระประยูรญาติ ในตระกูล ณ เชียงใหม่ และผู้สืบเชื้อสายสกุลเจ้าเจ็ดตน ในปี พ.ศ. 2451-2452 พระราชชายาดารารัศมีทรงพิจารณาเห็นว่า (กู่) อนุสาวรีย์เจ้าผู้ครองนครและพระประยูรญาติทั้งหลายตั้งอยู่ใกล้ริมฝั่งแม่น้ำปิง ทางทิศตะวันตก (ตลาดวโรรสแถวตรอกข่วงเมรุ) เป็นสถานที่ที่ไม่เหมาะสม เนื่องจากในฤดูฝน น้ำก็มักจะเข้าไปท่วมขังอยู่เป็นประจำ จึงย้ายมาตั้งไว้ที่วัดสวนดอก
วัดสวนดอกจึงถือได้ว่าเป็นวัดที่มีความสำคัญของชาวเชียงใหม่ทั้งในด้านพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นสถานที่ในการปฏิบัติธรรมและประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และด้านประวัติศาสตร์ของเมืองเชียงใหม่เพราะเป็นที่บรรจุอัฐิของเจ้าเชียงใหม่ และยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ จึงควรค่าแก่การอนุรักษ์ ดูแล รักษา ให้คงอยู่ตลอดไป
อ้างอิง
ประวัติวัดสวนดอก ค้นข้อมูล 19 มกราคม 2557, จาก http://suandokkayom.blogspot.com/p/blog-page_09.html
วัดสวนดอก พระอารามหลวง ค้นข้อมูล 19 มกราคม 2557, จาก http://www.watsuandok.com/about.php#about0
วัดสวนดอก วียงพระธาตุแห่งล้านนา ค้นข้อมูล 19 มกราคม 2557, จาก http://www.comingthailand.com/chiangmai/wat-suandok.html
No comments:
Post a Comment