ปราสาทหินเมืองต่ำ จังหวัดบุรีรัมย์

โดย กชกานต์  แก่นจันทร์

เมื่อเรานึกถึงแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดบุรีรัมย์ เราทุกคนต่างก็จะนึกถึงสถานที่แห่งเดียวกัน นั่นก็คือปราสาทหินพนมรุ้ง ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางโบราณสถานที่สำคัญของจังหวัดนี้ โดยเป็นสถาปัตยกรรมปราสาทหินที่สวยที่สุดในประเทศไทย เพราะสร้างขึ้นด้วยแต่จังหวัดบุรีรัมย์ยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่เมื่อผู้มาเที่ยวจังหวัดนี้ได้แวะหลังจากได้เดินทางยังปราสาทหินพนมรุ้งแล้วนั่นก็คือ ปราสาทหินเมืองต่ำ ซึ่งระยะทางห่างจากพนมรุ้งไม่มากนัก เพราะสถานที่ตั้งของพนมรุ้งกับปราสาทหินเมืองต่ำ ต่างกันแค่บนเขากับเนินเขาเท่านั้น

ประวัติความเป็นมาของปราสาทหินเมืองต่ำตั้งอยู่ที่ บ้านโคกเมือง ตำบลจระเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ประวัติการก่อสร้างไม่แน่ชัดว่าสร้างขึ้นเมื่อใด เพราะไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่นอน แต่เชื่อว่าสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นศาสนสถานในศาสนฺฮินดู ปราสาทเมืองต่ำยังมีความโดดเด่นในเรื่องคติภูมิจักรวาลเนื่องจากมีสระน้ำ 4 สระ ล้อมรอบ ปราสาท  5 ยอด จากคำภีร์ศิวะปุราณะกล่าวว่า พระอิศวรทรงน้ำด้วยพระเสโท สร้างแผ่นดินด้วยเมโท ใช้จุฑามณีปักลงที่ใจกลางของพื้นภพเป็นเขาพระสุเมรุให้เป็นแกนหลักของโลก และจักรวาล นำพระสังวาลมาสร้างเป็นทิวเขาสวมรอบเขาพระสุเมรุอีก 7 ทิว เรียกว่า สัตบริภัณฑคีรีเป็นที่สถิตของเทวดา


ปราสาทเมืองต่ำตั้งอยู่ที่ ตำบลห้วยจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์

ปราสาทหินเมืองต่ำมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก่อขึ้นด้วยอิฐ หินทราย และศิลาแลง มีสระน้ำล้อมรอบตัวปราสาท ประกอบด้วยสิ่งก่อสร้างหลัก คือ ปรางค์อิฐ 5 องค์ ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงแผ่นเดียวกัน องค์กลางมีขนาดใหญ่กว่าองค์อื่น เป็นปรางค์ประธาน มีมุขหน้า และหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ที่ด้านนี้มีประตูเข้าปราสาทเพียงด้านเดียว ส่วนอีก 3 ด้านเป็นประตูหลอก

ตัวอาคารของปราสาทประกอบด้วย

ปรางค์ประธาน   ตั้งอยู่ตรงกลางเยื้องมาข้างหน้าเล็กน้อย ระหว่างปรางค์บริวารทั้งสองมีขนาดใหญ่กว่าปรางค์บริวารอีก 4 องค์ ทับหลังเป็นหินทราย ปัจจุบันปรางค์ประธานได้ถล่มลงมาแล้วคงเหลือเฉพาะฐานที่ก่อด้วยศิลาแลง ลักษณะอาคารใช้อิฐเป็นวัสดุก่อสร้างหลัก พบเพียงฐานเป็นศิลาแลง และหน้าบันซึ่งสลักจากหินทราย เป็นภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ศิลปะปาปวน สันนิษฐานว่าตัวปราสาทเป็นปราสาทหินทราย นอกจากนี้ยังได้พบหลักฐานลวดลายปูนปั้นประดับ ซึ่งสร้างถวายพระศิวะเทพเจ้าสูงสุดในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เพราะได้มีการขุดพบศิวลึงค์ ซึ่งเป็นรูปเคารพแทนองค์พระศิวะ และพบทับหลังสลักพระศิวะ ในปาง "กัลยาณะสุนทะระมูรติ" ส่วนบนของทับหลังจำหลักภาพฤๅษีนั่งประนมมือเป็นแถว จำนวน 7 ตน


ที่มา: http://info.dla.go.th/

ตัวปราสาทประธาน  เป็นอาคารสำคัญที่สุด สร้างอยู่ตรงกึ่งกลาง ใช้ประดิษฐานรูปเคารพ และประกอบพิธีบวงสรวงเทพเจ้า ประกอบด้วยอาคารอิฐ 5 องค์ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงเดียวกัน องค์ปราสาทก่อด้วยอิฐเรียงเป็น 2 แถว แถวหน้า 3 องค์และแถวหลัง 2 องค์ แสดงสัญลักษณ์แทนเขาพระสุเมรุ ศูนย์กลางจักรวาล ปราสาทประธานตั้งอยู่ตรงกลางของแถวหน้า มีขนาดใหญ่กว่าปราสาทบริวาร หักพังเหลือเพียงฐาน ปราสาทประธานเป็นที่ประดิษฐานศิวลึงค์

กำแพงแก้ว  ซึ่งก่อด้วยศิลาแลง ล้อมรอบองค์ปราสาท  มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า บนสันกำแพงประกอบด้วยบราลี กึ่งกลางกำแพงแก้วมีซุ้มประตูหรือโคปุระขนาดใหญ่ที่ก่อด้วยหินทราย

ระเบียงคดและซุ้มประตู  เป็นสิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะเป็นห้องแคบๆยาวๆล้อมรอบตัวปราสาท ห้องด้านข้างของระเบียงคดทำเป็นหน้าต่างประดับด้วยลูกมะหวด

บรรณาลัย  ประกอบด้วยกลุ่มอาคาร2หลัง ก่อสร้างด้วยอิฐ อยู่บริเวณด้านหน้าของกลุ่มปราสาทอิฐ ข้างละ 1 หลัง ลักษณะเป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีมุขและประตูทางเข้าด้านทิศตะวันตกด้านเดียว ส่วนผนังหลังคาพังลงหมดเหลือเพียงกรอบประตูและทับหลัง จากรูปแบบของอาคารเป็นสถานที่เก็บรักษาคัมภีร์ ตำราทางศาสนา หรืออาจเป็นสถานที่ประดิษฐานรูปเคารพ

บาราย หรือ ที่เรียกว่า ทะเลเมืองต่ำ สร้างปราสาทหินขึ้นมาพร้อมด้วยบาราย  ตั้งอยู่ที่บ้านโคกเมือง ตำบลจรเข้มาก เป็นสระน้ำขนาดใหญ่ อยู่ห่างจากตัวปราสาทเมืองต่ำไปทางทิศเหนือราว 200 เมตร สร้างขึ้นเพื่อการอุปโภค การชลประทานของชุมชน มีขนาดกว้างประมาณ 510 เมตร ยาวประมาณ 1,090 เมตร ลึกประมาณ 3 เมตร ก่อขอบสระด้วยศิลาแลง 3 ชั้น บนขอบสระด้านยาว คือ ด้านทิศเหนือและทิศใต้มีท่าน้ำเป็นชานกว้าง ขนาดกว้างประมาณ 6.90 เมตร ยาว 17 เมตร ปูพื้นด้วยศิลาแลงลาดลงไปยังฝั่งน้ำ ซึ่งก่อบันไดท่าน้ำเป็นทางลงสระรวม 5 ขั้น ท่าน้ำทั้ง 2 ฝั่งนี้อยู่ในแนวตรงกันประมาณกึ่งกลางของขอบสระ



ลานปราสาทหินเมืองต่ำและสระน้ำ  อยู่ระหว่างกำแพงแก้วกับระเบียงคด มีสระน้ำหักมุมตามแนวของกำแพงส่วนที่ว่างระหว่างสระน้ำเป็นทางเดินในแนวตรงกับซุ้มประตูระเบียงคดและซุ้มประตูกำแพงแก้วสระ  ทั้ง 4 กรุด้วยศิลาแลงเรียงเป็นขั้นบันไดลงถึงก้นสระ ขอบบนสุดสลักเป็นลำตัวพญานาคหินทรายทอดตัวไปตามแนวของขอบสระ ชูคอแผ่พังพานที่มุมสระ เป็นนาค 5 เศียรเกลี้ยงๆ ไม่มีเครื่องประดับศรีษะ เป็นลักษณะศิลปะอินเดียในแบบปาปวน

การเดินทางมายังปราสาทเมืองต่ำ ถ้ามาจากกรุงเทพมหานคร ผ่านจังหวัดสระบุรี แล้วเลี้ยวขวาตรงทางหลวงหมายเลข 24 ไปจังหวัดอุบลราชธานี แล้วเลี้ยวขวาเข้าถนนหมายเลย 219 ในตัวอำเภอประโคนชัย แล้วเลี้ยวขวาตามทางหลวงหมายเลข 2165 ตามทางมาเรื่อยๆก็จะเจอปราสาทเมืองต่ำ

ปราสาทหินที่สร้างขึ้นในสมัยขอม เพื่อเป็นเทวสถานและศาสนสถานเพื่อประกอบพิธีทางศาสนาพราหมณ์-ฮินดู  สร้างขึ้นเพื่อการบูชาเทพ ซึ่งเหตุผลส่วนใหญ่ที่สร้างอยู่บนที่สูง ก็เพื่อให้เหมือนอยู่บนเขาพระสุเมรุ ซึ่งอยู่ใกล้สรวงสวรรค์มากที่สุด ซึ่งเป็นเสมือนบริเวณใจกลางโลกและจักรวาล และนอกจากสร้างเพื่อความเชื่อทางศาสนาแล้ว ก็ยังเพื่อเป็นการแสดงบารมีของกษัตริย์  เพราะเชื่อว่ากษัตริย์เป็นผู้ที่เคยเป็นเทพลงมาเกิดยังโลกมนุษย์ นอกจากสร้างตัวปราสาทแล้วยังสร้างบาราย หรือที่เก็บน้ำไว้ให้ประชาชนอุปโภคบริโภคเพื่อสาธารณะประโยชน์ของประชาชน   ถึงแม้ระยะเวลาจะล่วงเลยมาหลายศตวรรษแล้วก็ตามแต่คุณค่าของโบราณสถานไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม  ร่องรอยปราสาทหินเป็นตัวบอกเล่าเรื่องราวอารยธรรมของคนโบราณชั้นดี เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาความเป็นมา ของประวัติศาสตร์ ว่าครั้งนึงอารยธรรมขอมเคยมีอิทธิพล และยิ่งใหญ่และทรงคุณค่าเพียงใด



อ้างอิง

ปราสาทหินเมืองต่ำ. [ออนไลน์] . ค้นหาเมื่อ 19 กันยายน 2558 , จาก https://www.gotoknow.org/posts/449531

ปราสาทเมืองต่ำ. [ออนไลน์] .ค้นหาเมื่อ 19  กันยายน 2558 , จาก  http://www.thaifolk.com/doc/muengtam.htm                                                                                    

ปราสาทเมืองต่ำ.[ออนไลน์] . ค้นหาเมื่อ 2 ธันวาคม 2558 , จาก http://place.thai-tour.com/buriram/prakhonchai/385

No comments:

Post a Comment