โดย ศิริพร จันทะศูนย์
เมื่อพูดถึงจังหวัดลำปาง เส้นทางผ่านที่ก้าวไปสู่ประตูล้านนา หลายคนคงจะนึกถึงภาพเมืองสวยๆมีพระธาตุลำปางหลวงเป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองไม่ก็นึกถึงชามตราไก่ หรือไม่ก็รถม้าโดยสารที่เป็นเอกลักษณ์ประจำเมือง แต่ที่จริงแล้วเมืองลำปางยังมีวัดวาอารามที่มีประวัติศาสตร์เก่า แก่อีกหลายที่ที่น่าสนใจให้ได้เข้าไปเยี่ยมชม สักการะ และศึกษาถึงที่มาพร้อมประวัติศาสตร์ของแหล่งโบราณสถาน วัดวาอารามนั้นๆ เมื่อมีโอกาสมาเยือนถิ่นฐานบ้านเมืองเหนือทั้งที สิ่งหนึ่งที่ไม่ควรพลาด ก็คือ การเยี่ยมชมวัดวาอารามเก่าแก่ ที่มีความน่าสนใจทั้งประวัติความเป็นมา ลวดลายของสิ่งปลูกสร้างดังเช่น “วัดปงสนุก”
วัดปงสนุก หรือวัดปงสนุกเหนือ ตั้งอยู่ในเขต ต.เวียงเหนือ อ.เมือง จ.ลำปาง เป็นวัดสำคัญคู่กับจังหวัดลำปางมาช้านาน สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยที่เจ้าอนันตยศ ราชบุตรของพระนางจามเทวีแห่ง หริภุญไชย (ลำพูน) เสด็จมาสร้างเขลางค์นคร (ลำปาง) เมื่อ พ.ศ.1223 หรือ 1,328 ปีก่อน
วัดแห่งนี้ถือเป็นวัดศูนย์กลางเมืองเขลางค์ยุคที่ 2 ในสมัยล้านนา หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดที่กล่าวถึงวัดปงสนุก ย้อนไปถึงปี พ.ศ. 1929 ในขณะนั้นใช้ชื่อว่า “วัดเชียงภูมิ” เป็นสถานที่ที่หมื่นโลกนคร ผู้รักษาเมืองเขลางค์ใช้ตั้งรับทัพอยุธยาที่ยกขึ้นมาตีล้านนา ต่อมาอีก 400 ปี วัดแห่งนี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดปงสนุก” โดยมีการแบ่งเป็นด้านเหนือและด้านใต้ ดังหลักฐานจากคัมภีร์ใบลานของวัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน กล่าวถึงการฉลอง “วัดปงสนุกใต้” ในปี พ.ศ. 2352 และในปี พ.ศ. 2402 จากบันทึกของครูบาอาโนชัยธรรมจินดามุนีอดีตพระราชาคณะหัวเมืองได้กล่าวถึงการบูรณะภูเขาจำลอง วัดปงสนุกเหนือ หลังจากนั้นอี 27 ปี คือปี พ.ศ. 2429 ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์วัดปงสนุกครั้งใหญ่ โดยทำการซ่อมพระเจดีย์ สร้างฉัตร ก่อซุ้มประตูโขง วิหารหลังมียอดหรือวิหารพระเจ้าพันองค์และจัดฉลอง โดยนิมนต์พระสงฆ์มารับไทยทานกว่า 300 รูป
ความรุ่งเรืองของวัดปงสนุกยังปรากฏอยู่ในงานศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้วัดเป็นจำนวนมาก อาทิเช่น เจดีย์ วิหารพระนอน และ “วิหารพระเจ้าพันองค์” วิหารโถงทรงจัตุรมุขที่มีอายุกว่า 120 ปี ซึ่งมีรูปแบบงดงาม และเป็นแม่แบบให้อาคารหลังอื่นในประเทศไทย ปัจจุบันวัดปงสนุกยังเป็นแหล่งรวมศิลปวัตถุอีกนานัปการ ทั้งพระพุทธรูปไม้ ซึ่งพบภายในห้องใต้หลังคาของวิหารพระเจ้าพันองค์ ภาพพระบฎเขียนเรื่องพระเวสสันดรบนผ้าและกระดาษสา ที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 120 ปี หีบธรรมโบราณ และธงช้างเผือกขนาดใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 6 ซึ่งได้จัดแสดงงานที่พิพิธภัณฑ์หีบธรรมรัตนานุรักษ์อนุสรณ์ และพิพิธภัณฑ์หีบธรรมของวัดปงสนุก
วิหารหลังมียอด หรือวิหารพระเจ้าพันองค์ หรือวิหาร 12 ราศี หรือวิหารสะเดาะเคราะห์ ราว พ.ศ.2386 สร้างด้วยไม้ในลักษณะมณฑปหลังคาซ้อน 3 ชั้น บนสันหลังคาเหนือมุขทั้งสี่ สร้างปราสาทไม้จำลองขนาดเล็กหุ้มด้วยสังกะสีฉลุลายสื่อความหมายถึงทวีปทั้งสี่ รอบเขาพระสุเมรุ บริเวณชั้นระหว่างหลังคางดงามด้วยงานแกะสลักรูปกินรี สัตว์หิมพานต์ครึ่งคนครึ่งนก แต่งกายแบบราชสำนักพม่า และนกยูง สัญลักษณ์ของกษัตริย์ ประดับช่องหน้าต่างด้วย ลายฉลุรูปม้า วัว สิงห์ สัตว์ประจำทิศในพุทธศาสนา รวมถึงนรสิงห์เทินหม้อปูรณฆฏะ สัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ ขนาบด้วยภาพชาดกเขียนสีบนพื้นไม้ใส่กรอบกระจกแสดงเรื่องการบำเพ็ญเพียรของพระพุทธเจ้า โครงสร้างของวิหารมีลักษณะเป็นมณฑปเปิดโล่งตรงกลางประดิษฐานพระพุทธรูปสี่องค์ พระพักตร์แต่ละองค์ก็หันออกไปยังทิศทั้งสี่ ในส่วนของหลังคามีลักษณะซ้อนกันสามชั้นซึ่งตกแต่งไว้อย่างสวยงาม รวมไปถึงเสาสี่เหลี่ยมที่ค้ำตัววิหารมีลวดลายอันน่าวิจิตรปรากฏให้เห็นอยู่แทบทุกต้น และบริเวณด้านบนรอบในของตัววิหารนั้นได้รับการประดับด้วยพระพิมพ์องค์เล็กจำนวนมากถึง 1,080 องค์ นี่จึงเป็นที่มาของชื่อ “วิหารพันองค์”
ลักษณะของวิหารพระเจ้าพันองค์ ห้องกลางวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปสี่องค์ หันพระพักตร์ออกสี่ทิศ ประทับนั่งใต้โพธิพฤกษ์ทำด้วยตะกั่ว ด้านล่างของฐานชุกชีประดับลวดลายรูปช้างนาคสิงห์ นกอินทรี มีรูปกินรีประดับมุมคอของชั้นสอง เสาสี่เหลี่ยมประดับด้วยกาบรูปกลีบบัว พร้อมทั้งมีปราสาทไม้จำลองขนาดเล็กหุ้มด้วยสังกะสีฉลุลายสื่อความหมายถึงทวีปทั้งสี่รอบเขาพระสุเมรุ
ซุ้มประตูโขง นอกจากนี้ยังพบว่า วัดปงสนุก เป็นสถานที่ประดิษฐานเสาหลักเมืองเสาแรกของลำปาง ก่อนจะนำไปประดิษฐาน ณ บริเวณศาลากลาง(หลังเก่า) ซึ่งในปัจจุบันได้ทำการบูรณะเจดีย์และวิหารพระเจ้าพันองค์ เนื่องจากพระเจดีย์ มีอายุเก่าแก่เท่าๆกับดอยสุเทพ ที่จังหวัดเชียงใหม่ คือกว่า 500 ปี วิหารพระเจ้าพันองค์ ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมเก่าแก่ ที่รวบรวมไว้ทั้งงานด้านจิตรกรรม สถาปัตยกรรมผสมผสานระหว่างไทย จีน พม่า ซึ่งมีเพียงแห่งเดียวของประเทศก็ว่าได้ จึงทำให้มีนักท่องเที่ยวทั้งต่างชาติ คนไทย และกลุ่มนักศึกษาจากสถาบันการศึกษาต่างๆ เข้ามาค้นคว้าหาข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของวัดจำนวนมาก
เสาหลักเมืองเสาแรกของเขลางค์นคร หรือจังหวัดลำปาง จากประวัติศาสตร์พบว่า เป็นชื่อที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์การอพยพผู้คนในเหตุการณ์ช่วงปี พ.ศ.2346 ที่พญากาวิละได้ยกทัพเข้าโจมตีเมืองเชียงแสน ซึ่งเป็นที่ตั้งมั่นของพม่า และได้กวาดต้อนชาวเชียงแสนซึ่งเป็นชาวบ้านบ้านปงสนุกมาตั้งถิ่นฐานที่ลำปาง รวมถึงการอพยพของคนเมืองพะยาวที่หนีศึกพม่าลงมายังลำปาง ชาวปงสนุกเชียงแสน และชาวพะยาว จึงได้ ตั้งบ้านเรือนจนกลายเป็นหมู่บ้าน
การเดินทางมาที่วัดปงสนุกมีความสะดวก จากตัวเมืองลำปางให้วิ่งข้ามสะพานรัษฎาภิเศกมาจนพบกับสี่แยกไฟแดงจากนั้นให้เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนปงสนุก จากนั้นวิ่งต่อไปซักระยะจะพบวัดอยู่ทางขวา ซึ่งตั้งอยู่ที่หมู่บ้านปงสนุก ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง หรือจะโทรไปสอบถามข้อมูลได้ที่ 054-228763 วัดนี้เปิดทำารตั้งแต่เวลาทำการ: 05.30 น. - 20.30 น. โดยมีไฮไลท์สำคัญคือ วิหารพระเจ้าพันองค์หรือ วิหารจตุรมุข ที่มีพระพิมพ์ประดับอยู่ภายในรอบวิหารจำนวน 1,080
ปัจจุบัน “วัดปงสนุก” ได้กลายเป็นแหล่งรวบรวมของสิ่งสำคัญหลายอย่างที่ทรงคุณค่าทางด้านศิลปวัฒนธรรม สถาปัตยกรรม ด้วยความเป็นวัดเก่าที่มากด้วยความสวยงาม แล้วก็ยังมีข้าวของเครื่องใช้ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา อาทิ พระพุทธรูปไม้ เสาหงส์ ซุ้มประตูโขง ภาพพระบฎ เขียนเรื่องพระเวสสันดรบนผ้าและกระดาษสา หีบธรรมโบราณ และธงช้างเผือกขนาดใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 6 ซึ่งทางวัดได้นำมารวมไว้เป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อให้ผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษา และท้ายนี้หากมีโอกาสมาเยือนถิ่นรถม้าก็น่าจะบันทึกชื่อ วัดปงสนุก ไว้เป็นหนึ่งในจุดหมายก็คงจะดีไม่น้อย
อ้างอิง
วัดปงสนุกเหนือ. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2558 , จาก http://www.thaiticketmajor.com/
วัดปงสนุกเหนือ. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2558 , จาก http://www.lampang.go.th/travel/weblp/page/page12.html
วัดปงสนุกเหนือ สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2558 , จาก http://www.manager.co.th/
วัดปงสนุกเหนือ สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2558 , จาก http://www.m-culture.go.th/lampang/index.php/
วัดปงสนุกเหนือ สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2558 , จาก http://www.banmuang.co.th/
เมื่อพูดถึงจังหวัดลำปาง เส้นทางผ่านที่ก้าวไปสู่ประตูล้านนา หลายคนคงจะนึกถึงภาพเมืองสวยๆมีพระธาตุลำปางหลวงเป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองไม่ก็นึกถึงชามตราไก่ หรือไม่ก็รถม้าโดยสารที่เป็นเอกลักษณ์ประจำเมือง แต่ที่จริงแล้วเมืองลำปางยังมีวัดวาอารามที่มีประวัติศาสตร์เก่า แก่อีกหลายที่ที่น่าสนใจให้ได้เข้าไปเยี่ยมชม สักการะ และศึกษาถึงที่มาพร้อมประวัติศาสตร์ของแหล่งโบราณสถาน วัดวาอารามนั้นๆ เมื่อมีโอกาสมาเยือนถิ่นฐานบ้านเมืองเหนือทั้งที สิ่งหนึ่งที่ไม่ควรพลาด ก็คือ การเยี่ยมชมวัดวาอารามเก่าแก่ ที่มีความน่าสนใจทั้งประวัติความเป็นมา ลวดลายของสิ่งปลูกสร้างดังเช่น “วัดปงสนุก”
วัดปงสนุก หรือวัดปงสนุกเหนือ ตั้งอยู่ในเขต ต.เวียงเหนือ อ.เมือง จ.ลำปาง เป็นวัดสำคัญคู่กับจังหวัดลำปางมาช้านาน สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยที่เจ้าอนันตยศ ราชบุตรของพระนางจามเทวีแห่ง หริภุญไชย (ลำพูน) เสด็จมาสร้างเขลางค์นคร (ลำปาง) เมื่อ พ.ศ.1223 หรือ 1,328 ปีก่อน
วัดแห่งนี้ถือเป็นวัดศูนย์กลางเมืองเขลางค์ยุคที่ 2 ในสมัยล้านนา หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดที่กล่าวถึงวัดปงสนุก ย้อนไปถึงปี พ.ศ. 1929 ในขณะนั้นใช้ชื่อว่า “วัดเชียงภูมิ” เป็นสถานที่ที่หมื่นโลกนคร ผู้รักษาเมืองเขลางค์ใช้ตั้งรับทัพอยุธยาที่ยกขึ้นมาตีล้านนา ต่อมาอีก 400 ปี วัดแห่งนี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดปงสนุก” โดยมีการแบ่งเป็นด้านเหนือและด้านใต้ ดังหลักฐานจากคัมภีร์ใบลานของวัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน กล่าวถึงการฉลอง “วัดปงสนุกใต้” ในปี พ.ศ. 2352 และในปี พ.ศ. 2402 จากบันทึกของครูบาอาโนชัยธรรมจินดามุนีอดีตพระราชาคณะหัวเมืองได้กล่าวถึงการบูรณะภูเขาจำลอง วัดปงสนุกเหนือ หลังจากนั้นอี 27 ปี คือปี พ.ศ. 2429 ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์วัดปงสนุกครั้งใหญ่ โดยทำการซ่อมพระเจดีย์ สร้างฉัตร ก่อซุ้มประตูโขง วิหารหลังมียอดหรือวิหารพระเจ้าพันองค์และจัดฉลอง โดยนิมนต์พระสงฆ์มารับไทยทานกว่า 300 รูป
ความรุ่งเรืองของวัดปงสนุกยังปรากฏอยู่ในงานศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้วัดเป็นจำนวนมาก อาทิเช่น เจดีย์ วิหารพระนอน และ “วิหารพระเจ้าพันองค์” วิหารโถงทรงจัตุรมุขที่มีอายุกว่า 120 ปี ซึ่งมีรูปแบบงดงาม และเป็นแม่แบบให้อาคารหลังอื่นในประเทศไทย ปัจจุบันวัดปงสนุกยังเป็นแหล่งรวมศิลปวัตถุอีกนานัปการ ทั้งพระพุทธรูปไม้ ซึ่งพบภายในห้องใต้หลังคาของวิหารพระเจ้าพันองค์ ภาพพระบฎเขียนเรื่องพระเวสสันดรบนผ้าและกระดาษสา ที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 120 ปี หีบธรรมโบราณ และธงช้างเผือกขนาดใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 6 ซึ่งได้จัดแสดงงานที่พิพิธภัณฑ์หีบธรรมรัตนานุรักษ์อนุสรณ์ และพิพิธภัณฑ์หีบธรรมของวัดปงสนุก
วิหารหลังมียอด หรือวิหารพระเจ้าพันองค์ หรือวิหาร 12 ราศี หรือวิหารสะเดาะเคราะห์ ราว พ.ศ.2386 สร้างด้วยไม้ในลักษณะมณฑปหลังคาซ้อน 3 ชั้น บนสันหลังคาเหนือมุขทั้งสี่ สร้างปราสาทไม้จำลองขนาดเล็กหุ้มด้วยสังกะสีฉลุลายสื่อความหมายถึงทวีปทั้งสี่ รอบเขาพระสุเมรุ บริเวณชั้นระหว่างหลังคางดงามด้วยงานแกะสลักรูปกินรี สัตว์หิมพานต์ครึ่งคนครึ่งนก แต่งกายแบบราชสำนักพม่า และนกยูง สัญลักษณ์ของกษัตริย์ ประดับช่องหน้าต่างด้วย ลายฉลุรูปม้า วัว สิงห์ สัตว์ประจำทิศในพุทธศาสนา รวมถึงนรสิงห์เทินหม้อปูรณฆฏะ สัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ ขนาบด้วยภาพชาดกเขียนสีบนพื้นไม้ใส่กรอบกระจกแสดงเรื่องการบำเพ็ญเพียรของพระพุทธเจ้า โครงสร้างของวิหารมีลักษณะเป็นมณฑปเปิดโล่งตรงกลางประดิษฐานพระพุทธรูปสี่องค์ พระพักตร์แต่ละองค์ก็หันออกไปยังทิศทั้งสี่ ในส่วนของหลังคามีลักษณะซ้อนกันสามชั้นซึ่งตกแต่งไว้อย่างสวยงาม รวมไปถึงเสาสี่เหลี่ยมที่ค้ำตัววิหารมีลวดลายอันน่าวิจิตรปรากฏให้เห็นอยู่แทบทุกต้น และบริเวณด้านบนรอบในของตัววิหารนั้นได้รับการประดับด้วยพระพิมพ์องค์เล็กจำนวนมากถึง 1,080 องค์ นี่จึงเป็นที่มาของชื่อ “วิหารพันองค์”
อ้างอิง :http://2g.pantip.com/
ลักษณะของวิหารพระเจ้าพันองค์ ห้องกลางวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปสี่องค์ หันพระพักตร์ออกสี่ทิศ ประทับนั่งใต้โพธิพฤกษ์ทำด้วยตะกั่ว ด้านล่างของฐานชุกชีประดับลวดลายรูปช้างนาคสิงห์ นกอินทรี มีรูปกินรีประดับมุมคอของชั้นสอง เสาสี่เหลี่ยมประดับด้วยกาบรูปกลีบบัว พร้อมทั้งมีปราสาทไม้จำลองขนาดเล็กหุ้มด้วยสังกะสีฉลุลายสื่อความหมายถึงทวีปทั้งสี่รอบเขาพระสุเมรุ
ซุ้มประตูโขง นอกจากนี้ยังพบว่า วัดปงสนุก เป็นสถานที่ประดิษฐานเสาหลักเมืองเสาแรกของลำปาง ก่อนจะนำไปประดิษฐาน ณ บริเวณศาลากลาง(หลังเก่า) ซึ่งในปัจจุบันได้ทำการบูรณะเจดีย์และวิหารพระเจ้าพันองค์ เนื่องจากพระเจดีย์ มีอายุเก่าแก่เท่าๆกับดอยสุเทพ ที่จังหวัดเชียงใหม่ คือกว่า 500 ปี วิหารพระเจ้าพันองค์ ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมเก่าแก่ ที่รวบรวมไว้ทั้งงานด้านจิตรกรรม สถาปัตยกรรมผสมผสานระหว่างไทย จีน พม่า ซึ่งมีเพียงแห่งเดียวของประเทศก็ว่าได้ จึงทำให้มีนักท่องเที่ยวทั้งต่างชาติ คนไทย และกลุ่มนักศึกษาจากสถาบันการศึกษาต่างๆ เข้ามาค้นคว้าหาข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของวัดจำนวนมาก
อ้างอิง : http://salm.blob.core.windows.net/
เสาหลักเมืองเสาแรกของเขลางค์นคร หรือจังหวัดลำปาง จากประวัติศาสตร์พบว่า เป็นชื่อที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์การอพยพผู้คนในเหตุการณ์ช่วงปี พ.ศ.2346 ที่พญากาวิละได้ยกทัพเข้าโจมตีเมืองเชียงแสน ซึ่งเป็นที่ตั้งมั่นของพม่า และได้กวาดต้อนชาวเชียงแสนซึ่งเป็นชาวบ้านบ้านปงสนุกมาตั้งถิ่นฐานที่ลำปาง รวมถึงการอพยพของคนเมืองพะยาวที่หนีศึกพม่าลงมายังลำปาง ชาวปงสนุกเชียงแสน และชาวพะยาว จึงได้ ตั้งบ้านเรือนจนกลายเป็นหมู่บ้าน
การเดินทางมาที่วัดปงสนุกมีความสะดวก จากตัวเมืองลำปางให้วิ่งข้ามสะพานรัษฎาภิเศกมาจนพบกับสี่แยกไฟแดงจากนั้นให้เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนปงสนุก จากนั้นวิ่งต่อไปซักระยะจะพบวัดอยู่ทางขวา ซึ่งตั้งอยู่ที่หมู่บ้านปงสนุก ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง หรือจะโทรไปสอบถามข้อมูลได้ที่ 054-228763 วัดนี้เปิดทำารตั้งแต่เวลาทำการ: 05.30 น. - 20.30 น. โดยมีไฮไลท์สำคัญคือ วิหารพระเจ้าพันองค์หรือ วิหารจตุรมุข ที่มีพระพิมพ์ประดับอยู่ภายในรอบวิหารจำนวน 1,080
อ้างอิง
วัดปงสนุกเหนือ. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2558
วัดปงสนุกเหนือ. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2558 , จาก http://www.lampang.go.th/travel/weblp/page/page12.html
วัดปงสนุกเหนือ สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2558 , จาก http://www.manager.co.th/
วัดปงสนุกเหนือ สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2558 , จาก http://www.m-culture.go.th/lampang/index.php/
วัดปงสนุกเหนือ สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2558 , จาก http://www.banmuang.co.th/
No comments:
Post a Comment