โดย อานนท์ ศรีสุวรรณ์
แหล่งโบราณคดีที่ปรากฏร่องรอยหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในอดีต เป็นแหล่งที่มีความสำคัญต่อการศึกษาวิถีชีวิตและพัฒนาการของมนุษย์แต่ละยุคสมัย ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย มีแหล่งโบราณคดีที่มีร่องรอยของชุมชนโบราณปรากฏอยู่หลายแห่ง จึงนำไปสู่การขุดค้นทางโบราณคดีที่มีประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าทางประวัติศาสตร์ เมืองโบราณโนนเมืองก็เป็นหนึ่งในแหล่งโบราณคดีสำคัญเหล่านี้
เมืองโบราณโนนเมือง ตั้งอยู่ที่ บ้านนาโพธิ์ ตำบลชุมแพ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น เป็นแหล่งโบราณคดีที่ปรากฏร่องรอยหลักฐานถึงการอาศัยอยู่ของมนุษย์ในยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ซึ่งเมืองโบราณแห่งนี้ได้เคยเป็นชุมชนในช่วง 2,500 – 2,000 ปีมาแล้ว มีผู้คนอาศัยอยู่จนกระทั่งถึงวัฒนธรรมสมัยทวารวดี ช่วงราวพุทธศตวรรษที่ 12 – 16 ประมาณ 1,400 – 1,000 ปีมาแล้ว มีเนื้อที่ทั้งหมด 216 ไร่ พื้นที่ชั้นในค่อนข้างกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 420 เมตร ชั้นนอกรูปทรงค่อนข้างรี กว้างประมาณ 600 เมตรมีคูเมืองล้อมรอบ 2 ชั้น ระยะห่างกันประมาณ 200 เมตร ด้านทิศใต้มีแม่น้ำเชิญไหลผ่าน พื้นที่รอบนอกตัวเมืองเป็นที่ลุ่มเหมาะแก่การเพาะปลูก (ภาพที่ 1)
จากการสำรวจของกรมศิลปากรโดยหน่วยงานศิลปากรที่ 7 ขอนแก่น (ปัจจุบันคือ สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 7 ขอนแก่น)ได้ดำเนินการขุดข้น ในปี 2525 จำนวน 7 หลุมพบโครงกระดูกจำนวน 11 โครง และในปี 2534 -2535 ได้รับงบประมาณการศึกษาและพัฒนาแหล่งเรียนรู้จากโครงการน้ำพระทัยจากในหลวง (โครงการอีสานเขียว) จึงได้ขุดค้นเพิ่มเติมอีก 6 หลุมพบโครงกระดูจำนวน 17 โครง โดยจัดแสดงเป็นพิพิธภัณฑสถานกลางแจ้งให้ผู้ที่สนใจได้ชมและศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับเมืองนี้ได้อย่างใกล้ชิด มีการขุดค้นพบโครงกระดูกมนุษย์ที่ความลึกจากพื้นดินประมาณ 270 เซนติเมตร มีอายุราว 2,500 ปี ที่มีการฝังตามแบบประเพณีโบราณ มีธรรมเนียมการฝังสิ่งของ เครื่องมือ เครื่องใช้ เช่น หม้อ ภาชนะดินเผาที่มีทั้งดินเผาเขียนสีและลายขูดขีด (ลายเชือกทาบ) กำไลสำริด กำไลกระดูกสัตว์ เช่น กระดูกหมู กระดูกควาย เขากวาง เปลือกหอย และกระดองเต่าใกล้กับโครงกระดูก เพื่ออุทิศให้กับผู้ตายตามคติความเชื่อในยุคสมัยนั้น (ภาพที่ 2)
ยังพบเครื่องมือเหล็กประเภท จอบ เคียว และกระดูกของสัตว์ต่างๆ เช่น เก้ง กวาง และปลาหลายชนิด ทำให้สันนิษฐานได้ว่าในอดีต ชุมชนแห่งนี้ ดำรงชีพด้วยการทำการเกษตร นอกจากนี้แล้วยังพบใบเสมาหินทรายศิลปะสมัยทวารวดี ที่ถูกปักไว้เพื่อกำหนดให้เป็นพื้นที่ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาในสมัยนั้น พื้นที่แห่งนี้ได้มีผู้คนอาศัยอยู่เรื่อยมาจนถึงสมัยพุทธศตวรรษที่ 16 – 17 จึงได้ถูกทิ้งร้างไปในที่สุด
หลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญและสิ่งของที่ขุดค้นพบและมีความสมบรูณ์ได้ถูกนำไปจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไม่ได้มีการจัดแสดงอยู่ที่เมืองโบราณแห่งนี้
ท่านที่สนใจอยากเดินทางมาเที่ยวชมเมืองโบราณแห่งนี้ สามารถเดินทางโดยใช้เส้นทาง ขอนแก่น – ชุมแพ (ทางหลวงหมายเลข 12) ระยะทางจากตัวเมืองขอนแก่นประมาณ 80 กิโลเมตร ผ่านตัวอำเภอชุมแพ ถึงที่ทำการไปรษณีย์เลี้ยวซ้ายเข้าไปอีก 5 กิโลเมตร ก็จะถึงพิพิธภัณฑ์เมืองโบราณโนนเมือง
ปัจจุบันเมืองโบราณโนนเมืองได้ถูกจัดตั้งให้เป็นพิพิธภัณฑ์เปิดเพื่อให้ผู้ที่สนใจได้เข้ามาศึกษาถึงร่องรอยโบราณคดีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ โดยไม่เสียค่าเข้าชม โดยมีอาคารศูนย์ข้อมูลที่รวบรวมและจัดแสดงประวัติความเป็นมาของเมืองโบราณโนนเมือง รวมทั้งมีอาคารจัดแสดงหลุมขุดค้น 5 หลุม สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาเรื่องราวในอดีตของจังหวัดขอนแก่น รับรองว่าไม่ผิดหวังแน่นอน
อ้างอิง
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย , เมืองโบราณโนนเมือง. Retrieved 25 กันยายน 2558, from http://thai.tourismthailand.org/
สุวรรณภูมิ สังคมวัฒนธรรม , เมืองโบราณโนนเมือง. Retrieved 25 กันยายน 2558, from http://haab.catholic.or.th/web/index.php?option=com_content&view=article&id=1661:2013-05-16-03-36-47&catid=128:2012-07-27-08-28-55&Itemid=66
ไทยทัวร์ อินโฟ , เมืองโบราณโนนเมือง ขอนแก่น . Retrieved 25 กันยายน 2558, from http://thai.tourismthailand.org/
แหล่งโบราณคดีที่ปรากฏร่องรอยหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในอดีต เป็นแหล่งที่มีความสำคัญต่อการศึกษาวิถีชีวิตและพัฒนาการของมนุษย์แต่ละยุคสมัย ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย มีแหล่งโบราณคดีที่มีร่องรอยของชุมชนโบราณปรากฏอยู่หลายแห่ง จึงนำไปสู่การขุดค้นทางโบราณคดีที่มีประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้าทางประวัติศาสตร์ เมืองโบราณโนนเมืองก็เป็นหนึ่งในแหล่งโบราณคดีสำคัญเหล่านี้
เมืองโบราณโนนเมือง ตั้งอยู่ที่ บ้านนาโพธิ์ ตำบลชุมแพ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น เป็นแหล่งโบราณคดีที่ปรากฏร่องรอยหลักฐานถึงการอาศัยอยู่ของมนุษย์ในยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย ซึ่งเมืองโบราณแห่งนี้ได้เคยเป็นชุมชนในช่วง 2,500 – 2,000 ปีมาแล้ว มีผู้คนอาศัยอยู่จนกระทั่งถึงวัฒนธรรมสมัยทวารวดี ช่วงราวพุทธศตวรรษที่ 12 – 16 ประมาณ 1,400 – 1,000 ปีมาแล้ว มีเนื้อที่ทั้งหมด 216 ไร่ พื้นที่ชั้นในค่อนข้างกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 420 เมตร ชั้นนอกรูปทรงค่อนข้างรี กว้างประมาณ 600 เมตรมีคูเมืองล้อมรอบ 2 ชั้น ระยะห่างกันประมาณ 200 เมตร ด้านทิศใต้มีแม่น้ำเชิญไหลผ่าน พื้นที่รอบนอกตัวเมืองเป็นที่ลุ่มเหมาะแก่การเพาะปลูก (ภาพที่ 1)
ภาพที่ 1 ภาพถ่ายทางอากาศแสดงขอบเขตพื้นที่เมืองโบราณโนเมือง
จากการสำรวจของกรมศิลปากรโดยหน่วยงานศิลปากรที่ 7 ขอนแก่น (ปัจจุบันคือ สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 7 ขอนแก่น)ได้ดำเนินการขุดข้น ในปี 2525 จำนวน 7 หลุมพบโครงกระดูกจำนวน 11 โครง และในปี 2534 -2535 ได้รับงบประมาณการศึกษาและพัฒนาแหล่งเรียนรู้จากโครงการน้ำพระทัยจากในหลวง (โครงการอีสานเขียว) จึงได้ขุดค้นเพิ่มเติมอีก 6 หลุมพบโครงกระดูจำนวน 17 โครง โดยจัดแสดงเป็นพิพิธภัณฑสถานกลางแจ้งให้ผู้ที่สนใจได้ชมและศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับเมืองนี้ได้อย่างใกล้ชิด มีการขุดค้นพบโครงกระดูกมนุษย์ที่ความลึกจากพื้นดินประมาณ 270 เซนติเมตร มีอายุราว 2,500 ปี ที่มีการฝังตามแบบประเพณีโบราณ มีธรรมเนียมการฝังสิ่งของ เครื่องมือ เครื่องใช้ เช่น หม้อ ภาชนะดินเผาที่มีทั้งดินเผาเขียนสีและลายขูดขีด (ลายเชือกทาบ) กำไลสำริด กำไลกระดูกสัตว์ เช่น กระดูกหมู กระดูกควาย เขากวาง เปลือกหอย และกระดองเต่าใกล้กับโครงกระดูก เพื่ออุทิศให้กับผู้ตายตามคติความเชื่อในยุคสมัยนั้น (ภาพที่ 2)
ภาพที่ 2 โครงกระดูกมนุษย์ อายุราว 2,500 ปี พร้อมกับสิ่งของ ภาชนะดินเผา
ที่มา: http://www.holidaythai.com/
ยังพบเครื่องมือเหล็กประเภท จอบ เคียว และกระดูกของสัตว์ต่างๆ เช่น เก้ง กวาง และปลาหลายชนิด ทำให้สันนิษฐานได้ว่าในอดีต ชุมชนแห่งนี้ ดำรงชีพด้วยการทำการเกษตร นอกจากนี้แล้วยังพบใบเสมาหินทรายศิลปะสมัยทวารวดี ที่ถูกปักไว้เพื่อกำหนดให้เป็นพื้นที่ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาในสมัยนั้น พื้นที่แห่งนี้ได้มีผู้คนอาศัยอยู่เรื่อยมาจนถึงสมัยพุทธศตวรรษที่ 16 – 17 จึงได้ถูกทิ้งร้างไปในที่สุด
ภาพที่ 3 ใบเสมาหินทราย
หลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญและสิ่งของที่ขุดค้นพบและมีความสมบรูณ์ได้ถูกนำไปจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไม่ได้มีการจัดแสดงอยู่ที่เมืองโบราณแห่งนี้
ท่านที่สนใจอยากเดินทางมาเที่ยวชมเมืองโบราณแห่งนี้ สามารถเดินทางโดยใช้เส้นทาง ขอนแก่น – ชุมแพ (ทางหลวงหมายเลข 12) ระยะทางจากตัวเมืองขอนแก่นประมาณ 80 กิโลเมตร ผ่านตัวอำเภอชุมแพ ถึงที่ทำการไปรษณีย์เลี้ยวซ้ายเข้าไปอีก 5 กิโลเมตร ก็จะถึงพิพิธภัณฑ์เมืองโบราณโนนเมือง
ปัจจุบันเมืองโบราณโนนเมืองได้ถูกจัดตั้งให้เป็นพิพิธภัณฑ์เปิดเพื่อให้ผู้ที่สนใจได้เข้ามาศึกษาถึงร่องรอยโบราณคดีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ โดยไม่เสียค่าเข้าชม โดยมีอาคารศูนย์ข้อมูลที่รวบรวมและจัดแสดงประวัติความเป็นมาของเมืองโบราณโนนเมือง รวมทั้งมีอาคารจัดแสดงหลุมขุดค้น 5 หลุม สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาเรื่องราวในอดีตของจังหวัดขอนแก่น รับรองว่าไม่ผิดหวังแน่นอน
ภาพที่ 4 อาคารจัดแสดงหลุมขุดค้น
อ้างอิง
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย , เมืองโบราณโนนเมือง. Retrieved 25 กันยายน 2558, from http://thai.tourismthailand.org/
สุวรรณภูมิ สังคมวัฒนธรรม , เมืองโบราณโนนเมือง. Retrieved 25 กันยายน 2558, from http://haab.catholic.or.th/web/index.php?option=com_content&view=article&id=1661:2013-05-16-03-36-47&catid=128:2012-07-27-08-28-55&Itemid=66
ไทยทัวร์ อินโฟ , เมืองโบราณโนนเมือง ขอนแก่น . Retrieved 25 กันยายน 2558, from http://thai.tourismthailand.org/
No comments:
Post a Comment