โดย สลิตา พานคำ
ในปัจจุบันที่กระแสโลกาภิวัตน์ได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของผู้คนในสังคม ทำให้เหลือชุมชนที่ยังคงรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนน้อยเต็มที และหนึ่งในนั้นคือ “เกาะเกร็ด” แหล่งท่องเที่ยวที่รู้จักกันดีในฐานะที่เป็นชุมชนคนมอญที่ขึ้นชื่อในเรื่องของเครื่องปั้นดินเผา และวัฒนธรรมดั้งเดิมก็ยังสามารถอนุรักษ์สิ่งที่แสดงความเป็นเอกลักษณ์ไว้ได้เป็นอย่างดี
เกาะเกร็ด เป็นเกาะกลางน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ตั้งอยู่ที่ตำบลเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี มีเนื้อที่ประมาณ 4.2 ตารางกิโลเมตรหรือ 2,625 ไร่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ที่นี่เป็นชาวไทยเชื้อสายมอญที่มีอาชีพปั้นเครื่องปั้นดินเผาสืบเนื่องมาแต่ครั้งโบราณ
เกาะเกร็ด เกิดขึ้นจากการขุดคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงส่วนที่เป็นแหลม ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระแห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ. 2265 เรียกว่า “คลองลัดเกาะเกร็ดน้อย” (คลองลัดเกาะเกร็ดใหญ่อยู่ที่จังหวัดปทุมธานี ขุดลัดแม่น้ำเจ้าพระยาตอนท้ายอำเภอสามโคกมาทางใต้ถึงคลองขวางเชียงราก) ต่อมากระแสน้ำเปลี่ยนทิศทางแรงขึ้นเซาะตลิ่งทำให้คลองขยาย แผ่นดินตรงแหลมจึ่งเกลายเป็นเกาะ มีชื่อเดิมว่า เกาะศาลากุน
เกาะเกร็ดมีความเจริญมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา สังเกตได้จากวัดวาอารามต่างๆ บนเกาะส่วนใหญ่จะเป็นศิลปะในสมัยอยุธยา แต่คงจะมาร้างคนเมื่อพม่ามายึดกรุงศรีอยุธยา หลังจากกอบกู้เอกราชได้ พระเจ้าตากสินมหาราชจึงโปรดให้ชาวมอญเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่นี่ ชาวมอญบนเกาะเกร็ดนั้นมีทั้งที่เข้ามาในสมัยกรุงธนบุรี และสมัยรัชกาลที่ 2 ต่อมาเมื่อตั้งอำเภอปากเกร็ดขึ้นแล้ว เกาะศาลากุน จึงมีฐานะเป็นตำบล และเรียกกันว่าตำบลเกาะเกร็ด เกาะนี้จึงมีชื่อเรียกกันเป็น เกาะเกร็ด
เมื่อเวลาผ่านไปทำให้ชาวมอญเกาะเกร็ดมีความรักและผูกพันต่อถิ่นที่อยู่อาศัยมากขึ้น มีการรวมตัวกันเพื่อประกอบกิจกรรมต่างๆ ภายในชุมชนโดยเฉพาะกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาที่ชาวมอญเคารพนับถือ ดังนั้นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญในเกาะเกร็ดจึงเกี่ยวข้องกับวัด ที่เป็นศูนย์รวมจิตใจ และเป็นศูนย์กลางของชุมชนแห่งนี้
สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญบนเกาะเกร็ด ได้แก่
1.วัดปรมัยยิกาวาส (วัดปากอ่าว)
ในวัดนี้มีสิ่งที่น่าชมอยู่หลายอย่าง ที่ท่าเรือวัดจะพบปราสาทไม้ห้ายอดซึ่งเคยเป็นที่ตั้งเหม (โลงศพมอญ) ของอดีตเจ้าอาวาสตั้งตะหว่างอยู่ ส่วนพระอุโบสถมีการตกแต่งด้วยวัสดุนำเข้าจากอิตาลี ศิลปะยุโรปแบบพระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ 5 แต่กระนั้นพระองค์ยังรักษาธรรมเนียมเดิม โดยรับสั่งให้ที่นี่ริเริ่มการสวดเป็นภาษามอญ และปัจจุบันที่นี่เป็นวัดเดียวที่ยังเก็บรักษาพระไตรปิฎกภาษามอญไว้ พระประธานในพระอุโบสถนั้นเป็นพระปางมารวิชัย ฝีพระหัตถ์ของพระองค์เจ้าประดิษฐานวรการ ผู้ที่สร้างพระสยามเทวาธิราช รัชการลที่ 5 ทรงยกย่องว่าพระประธานองค์นี้งามด้วยพระพักตร์ดูมีชีวิตชีวาเหมือนคนจริง ด้านหลังพระอุโบสถ มีพระมหารามัญเจดีย์ จำลองแบบมาจากเจดีย์ชเวดากองของพม่า
พระวิหาร ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์สมัยอยุธยาตอนปลาย ขนาดยาว 9.50 เมตร ภาพจิตรกรรมที่เพดานนั้นแปลกตากว่าที่อื่น เป็นภาพลายปฐมจุลจอมเกล้า หน้าพระวิหารประดับตราพระเกี้ยว เป็นตราประจำพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้านหลังพระวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปประจำจังหวัดนนทบุรี
เอกลักษณ์ของมอญอีกอย่างหนึ่งในวัดนี้ คือ เจดีย์ทรงรามัญที่จำลองแบบมาจากพระธาตุเจดีย์มุเตา เมืองหงสาวดี ซึ่งคนมอญนับถือมาก ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เนื่องจากเจดีย์อยู่ติดแม่น้ำ กระแสน้ำกัดเซาะฐานราก ทำให้เจดีย์มีลักษณะเอียง ดูแปลกตา นับเป็นสัญลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของเกาะเกร็ด
พระนนทมุนินท์ เป็นพระพุทธรูปสมัยอยุธยาตอนปลาย ปางขัดสมาธิเพชร ประดิษฐานอยู่ในบุษบกแบบมอญ (จองพารา) สลักโดยฝีมือช่างที่นี่ ที่มุขเด็จหน้าวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปหินอ่อน ซึ่ง ซาง ซิว ซูน ชาวพม่าถวายให้กับรัชกาลที่ 5 พระวิหาร เปิดทุกวันตั้งแต่ 9.00 - 16.00 น.
2.วัดเสาธงทอง
วัดเสาธงทอง สร้างเมื่อ พ.ศ. 2313 เป็นวัดเก่า เดิมชื่อ "วัดสวนหมาก" นอกจากเป็นที่ตั้งโรงเรียนประถมแห่งแรกของอำเภอปากเกร็ดแล้ว ด้านหลังโบสถ์ยังประดิษฐาน เจดีย์ที่สูงที่สุดของอำเภอปากเกร็ดด้วย พระเจดีย์เป็นศิลปะอยุธยาย่อมุมไม้สิบสอง มีเจดีย์องค์เล็กเป็นบริวารโดยรอบอีก 2 ชั้น ส่วนด้านข้างโบสถ์มีเจดีย์องค์ใหญ่อีก 2 องค์ องค์หนึ่งเป็นเจดีย์ทรงระฆังหรือทรงลังกา อีกองค์หนึ่งเป็นเจดีย์ทรงมะเฟืองกลีบอวบองค์สุดท้ายของโลก ภายในโบสถ์มีลายเพดานสวยงามมาก เขียนลายทองกรวยเชิงอย่างงดงาม พระประธานเป็นพระปางมารวิชัยปูนปั้นขนาดใหญ่ คนมอญ เรียกวัดนี้ว่า “เพี๊ยะอาล๊าต” หน้าโบสถ์มีเจดีย์ขนาดย่อมสององค์ รูปทรงคล้ายมะเฟือง ฐานสี่เหลี่ยมย่อมุมสิบสอง ประดับลายปูนปั้น มีต้นยางใหญ่อายุประมาณ 200 ปี เปิดทุกวันตั้งแต่ 9.00 - 16.00 น.
3.วัดไผ่ล้อม
วัดไผ่ล้อมเป็นวัดที่สร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย พระอุโบสถสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2318 มีความงดงามเป็นอย่างมาก ลายหน้าบันจำหลักไม้เป็นลายดอกไม้ มีคันทวย และบัวหัวเสาที่งดงามเช่นกัน คนมอญเรียกวัดนี้ว่า "เพี๊ยะโต้" โดยพระยาเจ่ง ต้นตระกูลคชเสนีย์ ผู้คุมไพร่พลกองมอญที่เข้ามาอาศัยพึงพระบรมโพธิสมภาร และให้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในจังหวัดนนทบุรีขึ้นไปถึงอำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี
ปูชนียสถานที่สำคัญคือ อุโบสถ เป็นอาคารขนาดทรงโรงขนาด 5 ชั้น ก่ออิฐถือปูน หน้าบันไดไม้จำหลักลายดอกพุดตานใบเทศปิดทองประดับกระจกทั้งหมด หน้าอุโบสถมีเจดีย์ขยาดย่อม 2 องค์ รูปทรงเจดีย์ทรงรามัญประดับลายปูนปั้น ภายในวัดไผ่ล้อมจะมี พระพุทธชินราช และพระพุทธรูปหลวงพ่อโต อยู่ด้านหน้าโบสถ์ ให้นักท่องเที่ยวได้กราบสักการะก่อนเข้าไปกราบไหว้พระพุทธรูปด้านใน
ด้านหลังอุโบสถเดิมเป็นที่ประดิษฐานของพระฐาตุรามัญเจดีย์ (พระมหาเจดีย์ชเวดากองจำลอง) ซึ่งเป็นศิลปะพม่า มีพระธาตุรามัญเจดีย์ขนาดใหญ่แต่ชำรุดปรักหักพัง ทางวัดได้สร้างพระเจดีย์องค์ใหม่ครอบองค์เจดีย์เดิม เมื่อ พ.ศ. 2530 เป็นเจดีย์มอญที่มีความงดงาม องค์พระเจดีย์ประดิษฐานอยู่บนฐานใหญ่ รอบฐานในทิศทั้งแปด มีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปประจำวัดแบบมอญ ทั้ง 8 ทิศ กำแพงแก้วล้อมรอบพระธาตุรามัญเจดีย์ ทางด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตก มีซุ้มประตูแบบมอญทั้งสองด้านสามารถบอกประวัติความเป็นมาของวัด และศิลปกรรมชาวมอญบนเกาะเกร็ดได้เช่นกันเป็นอุโบสถที่มีความงามหลังหนึ่งเช่นเดียวกับอุโบสถวัดฉิมพลีสุธาวาส ถือเป็นโบสถ์สมัยอยุธยาที่งามมากแห่งหนึ่งมีการซ่อมครั้งใหญ่สมัยรัชกาลที่ 2 ถึงรัชกาลที่ 3 มีเจ้าอาวาส พระอางุย สุนฺทโร (วงษ์สกุล) คนในพื้นที่เรียกวัดนี้ว่าวัดมอญ เปิดทุกวันตั้งแต่ 9.00 - 16.00 น.
4.วัดฉิมพลีสุทธาวาส
วัดฉิมพลีตั้งอยู่บนเกาะเกร็ดทางด้านทิศใต้ เป็นวัดโบราณ ที่ชาวบ้านสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาเรียกกันว่า "วัดป่าฝ้าย" มีชื่อเต็มว่า "วัดฉิมพลีสุทธาวาส" มีพระอุโบสถเก่าขนาดเล็กลักษณะงดงามมาก และยังคงสภาพสมบูรณ์ตามแบบเดิม หน้าบันจำหลักไม้เป็นรูปเทพทรงราชรถ ล้อมรอบด้วยลายดอกไม้ ยอดมณฑป ซุ้มปประตูและซุ้มหน้าต่างเป็นแบบหน้านางซึ่งยังคงความงามอยู่ ฐานพระอุโบสถโค้งแบบเรือสำเภา ด้านเหนือพระอุโบสถมี เจดีย์ทรงระฆังซึ่งแปลกกว่าที่อื่น คือ มีกระจกสีประดับอยู่ที่องค์เจดีย์ นอกจากนี้ยังมีตุ๊กตาจีนขนาดใหญ่ตั้งอยู่ข้างประตูกำแพงพระอุโบสถ 2 ตัวอีกด้วย
อาณาบริเวณของวัดฉิมพลีในปัจจุบันนั้นใหญ่กว่าในอดีตเนื่องจากรวมเอาอาณาบริเวณของวัดป่าเลไลย์ ซึ่งในขณะนี้เป็นวัดร้างเข้าด้วยกันแล้ว วัดป่าเลไลย์นี้มีพระอุโบสถที่สร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนกลาง และมีใบเสมาทำจากหินชนวนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในปากเกร็ด บานประตูเขียนลายทองรดน้ำภาพเสี้ยวกาง ที่งดงาม แต่ได้ลบเลือนไปมากแล้วรวมทั้งยังมีความสูง 1.69 เมตร ส่วนพระประธาน และพระพุทธรูปทรงเครื่องน้อยแบบอยุธยา ได้นำไปประดิษฐานที่พระอุโบสถ เปิดทุกวันตั้งแต่ 9.00 - 16.00 น.
5.กวานอาม่าน (หมูบ้านดินเผา)
ในการดำเนินชีวิตประจำวันของชาวมอญเกาะเกร็ดในอดีตมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการทำเครื่องปั้นดินเผานานนับร้อยปี เรียกได้ว่าการทำเครื่องปั้นดินเผาเป็นอาชีพที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของชาวมอญเกาะเกร็ด เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันและเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของชาวมอญเกาะเกร็ดหลายเรื่อง เช่น การพึ่งพาอาศัยกันในการทำมาหากินเพื่อการดำรงชีวิตอยู่ของคนในชุมชน การให้ความเคารพนับถือผู้มีความสามารถพิเศษในวิชาชีพที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตในสังคม คติความเชื่อของชาวมอญเกาะเกร็ดเกี่ยวกับผีที่เกี่ยวเนื่องกับการทำเครื่องปั้นดินเผาอันเป็นสิ่งที่ทำให้ชาวมอญเกาะเกร็ดเป็นที่รู้จักของสังคมภายนอก
ปัจจุบันชาวมอญเกาะเกร็ดมิได้ผลิตเครื่องปั้นดินเผาทุกครัวเรือนแล้ว เนื่องจากความนิยมในการใช้เครื่องปั้นดินเผาลดลง อีกทั้งวัสดุในการผลิตก็หายากและมีราคาแพง ชาวมอญเกาะเกร็ดหันไปทำอาชีพอื่นเป็นส่วนมาก จนเมื่อรัฐบาลมีนโยบายให้ประชาชนอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย พร้อมทั้งส่งเสริมให้มีการท่องเที่ยวในประเทศไทยมากขึ้น เกาะเกร็ดและเครื่องปั้นดินเผาของชาวมอญแห่งนี้จึงได้รับความสนใจอีกครั้ง ทำให้ชาวมอญเกาะเกร็ดหันมาผลิตเครื่องปั้นดินเผาประเภทสวยงามจำหน่ายแก่นักท่องเที่ยว หลังจากซบเซาไปนานแต่ก็เทียบไม่ได้กับในอดีตที่มีการผลิตมากกว่าหลายสิบเท่า
พิพิธภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา เป็นศูนย์วัฒนธรรมพื้นบ้านชาวมอญ จัดแสดงเครื่องปั้นดินเผามอญลายโบราณ การปั้นเครื่องปั้นดินเผา นั้นเป็นอาชีพชาวมอญมาตั้งแต่ครั้งตั้งถิ่นฐานแถบลุ่มแม่น้ำอิรวดี และมีมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี นับเป็นหัตถกรรมพื้นบ้านที่เก่าแก่ ที่สุดในจังหวัดนนทบุรี ลวดลายประณีตสวยงามเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ และยังเป็นสัญลักษณ์ตราประจำจังหวัดนนทบุรี สองข้างทาง เดินบนเกาะมีบางบ้านที่ทำเครื่องปั้นดินเผา ภาชนะของใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น กระถาง ครก โอ่งน้ำ ฯลฯ เปิดให้เข้าชมทุกวัน ระหว่างเวลา 09.00 – 17.00 น.
สำหรับการข้ามมายังเกาะเกร็ดโดยเรือข้ามฟากได้สองท่าคือ ท่าเรือวัดสนามเหนือ (ไม่ไกลจากท่าน้ำปากเกร็ด) หรือท่าเรือวัดกลางเกร็ด มีเรือบริการระหว่าง 05.00-21.30 น. เปิดทำการทุกวัน เวลา 08.00 - 17.00 น.
ชุมชนคนมอญเกาะเกร็ดนั้นเป็นแหล่งรวมวัฒนธรรมที่สำคัญแห่งหนึ่งในประเทศไทย ซึ่งสะท้อนให้เห็นพัฒนาการหลายด้านที่เติบโตควบคู่มากับประเทศไทย และการมาเที่ยวเกาะเกร็ดนั้นมาเพื่อให้เห็นชีวิตประจำวันของชาวมอญเกาะเกร็ดที่ยังคงหลงเหลือวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมอยู่ โดยเฉพาะความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา และเครื่องปั้นดินเผาที่มีลวดลายสวยงามตามแบบฉบับช่างฝีมือชาวมอญ ซึ่งได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมากโดยเฉพาะชาวต่างประเทศที่นิยมซื้อเพื่อเป็นของที่ระลึก อีกทั้งลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่มีเกาะตั้งอยู่กลางแม่น้ำเจ้าพระยาจึงเป็นเสน่ห์ที่สามารถดึงดูดผู้คนทั้งใน และนอกประเทศได้เป็นอย่างดี
อ้างอิง
อลิสา รามโกมุท. เกาะเกร็ด:วิถีชีวิตชุมชนมอญริมน้ำเจ้าพระยา. กรุงเทพฯ : สมาพันธ์.
2542.
Jadai . 2557. Jadai เที่ยวตะลอน (ไม่) On Tour --> ชุด ตะลุยเกาะเกร็ด. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2558, จาก http://www.tibbook.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&WBntype=7&No=1247098
THAIWEEKENDER . 2558. เที่ยวที่ไหนดี สูดอากาศชานเมือง เกาะเกร็ด. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2558, จาก http://www.thaiweekender.com/index.php/kohkret.html
กระปุกดอทคอม. 2558. เที่ยวเกาะเกร็ด เกาะกลางลำน้ำเจ้าพระยา. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2558, จาก http://travel.kapook.com/view649.html
Dhurakij Pundit University. 2558. เกาะเกร็ด. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2558, จาก http://www.dpu.ac.th/dpuplace
ทัวร์ออนไทยดอทคอม. 2558. วัดเสาธงทอง. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2558, จาก http://www.touronthai.com
ในปัจจุบันที่กระแสโลกาภิวัตน์ได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของผู้คนในสังคม ทำให้เหลือชุมชนที่ยังคงรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนน้อยเต็มที และหนึ่งในนั้นคือ “เกาะเกร็ด” แหล่งท่องเที่ยวที่รู้จักกันดีในฐานะที่เป็นชุมชนคนมอญที่ขึ้นชื่อในเรื่องของเครื่องปั้นดินเผา และวัฒนธรรมดั้งเดิมก็ยังสามารถอนุรักษ์สิ่งที่แสดงความเป็นเอกลักษณ์ไว้ได้เป็นอย่างดี
เกาะเกร็ด เป็นเกาะกลางน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ตั้งอยู่ที่ตำบลเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี มีเนื้อที่ประมาณ 4.2 ตารางกิโลเมตรหรือ 2,625 ไร่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ที่นี่เป็นชาวไทยเชื้อสายมอญที่มีอาชีพปั้นเครื่องปั้นดินเผาสืบเนื่องมาแต่ครั้งโบราณ
เกาะเกร็ด เกิดขึ้นจากการขุดคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงส่วนที่เป็นแหลม ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระแห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ. 2265 เรียกว่า “คลองลัดเกาะเกร็ดน้อย” (คลองลัดเกาะเกร็ดใหญ่อยู่ที่จังหวัดปทุมธานี ขุดลัดแม่น้ำเจ้าพระยาตอนท้ายอำเภอสามโคกมาทางใต้ถึงคลองขวางเชียงราก) ต่อมากระแสน้ำเปลี่ยนทิศทางแรงขึ้นเซาะตลิ่งทำให้คลองขยาย แผ่นดินตรงแหลมจึ่งเกลายเป็นเกาะ มีชื่อเดิมว่า เกาะศาลากุน
เกาะเกร็ดมีความเจริญมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา สังเกตได้จากวัดวาอารามต่างๆ บนเกาะส่วนใหญ่จะเป็นศิลปะในสมัยอยุธยา แต่คงจะมาร้างคนเมื่อพม่ามายึดกรุงศรีอยุธยา หลังจากกอบกู้เอกราชได้ พระเจ้าตากสินมหาราชจึงโปรดให้ชาวมอญเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่นี่ ชาวมอญบนเกาะเกร็ดนั้นมีทั้งที่เข้ามาในสมัยกรุงธนบุรี และสมัยรัชกาลที่ 2 ต่อมาเมื่อตั้งอำเภอปากเกร็ดขึ้นแล้ว เกาะศาลากุน จึงมีฐานะเป็นตำบล และเรียกกันว่าตำบลเกาะเกร็ด เกาะนี้จึงมีชื่อเรียกกันเป็น เกาะเกร็ด
สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญบนเกาะเกร็ด ได้แก่
ในวัดนี้มีสิ่งที่น่าชมอยู่หลายอย่าง ที่ท่าเรือวัดจะพบปราสาทไม้ห้ายอดซึ่งเคยเป็นที่ตั้งเหม (โลงศพมอญ) ของอดีตเจ้าอาวาสตั้งตะหว่างอยู่ ส่วนพระอุโบสถมีการตกแต่งด้วยวัสดุนำเข้าจากอิตาลี ศิลปะยุโรปแบบพระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ 5 แต่กระนั้นพระองค์ยังรักษาธรรมเนียมเดิม โดยรับสั่งให้ที่นี่ริเริ่มการสวดเป็นภาษามอญ และปัจจุบันที่นี่เป็นวัดเดียวที่ยังเก็บรักษาพระไตรปิฎกภาษามอญไว้ พระประธานในพระอุโบสถนั้นเป็นพระปางมารวิชัย ฝีพระหัตถ์ของพระองค์เจ้าประดิษฐานวรการ ผู้ที่สร้างพระสยามเทวาธิราช รัชการลที่ 5 ทรงยกย่องว่าพระประธานองค์นี้งามด้วยพระพักตร์ดูมีชีวิตชีวาเหมือนคนจริง ด้านหลังพระอุโบสถ มีพระมหารามัญเจดีย์ จำลองแบบมาจากเจดีย์ชเวดากองของพม่า
พระวิหาร ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์สมัยอยุธยาตอนปลาย ขนาดยาว 9.50 เมตร ภาพจิตรกรรมที่เพดานนั้นแปลกตากว่าที่อื่น เป็นภาพลายปฐมจุลจอมเกล้า หน้าพระวิหารประดับตราพระเกี้ยว เป็นตราประจำพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้านหลังพระวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปประจำจังหวัดนนทบุรี
ที่มา: http://nbi.onab.go.th/
เอกลักษณ์ของมอญอีกอย่างหนึ่งในวัดนี้ คือ เจดีย์ทรงรามัญที่จำลองแบบมาจากพระธาตุเจดีย์มุเตา เมืองหงสาวดี ซึ่งคนมอญนับถือมาก ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เนื่องจากเจดีย์อยู่ติดแม่น้ำ กระแสน้ำกัดเซาะฐานราก ทำให้เจดีย์มีลักษณะเอียง ดูแปลกตา นับเป็นสัญลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของเกาะเกร็ด
พระนนทมุนินท์ เป็นพระพุทธรูปสมัยอยุธยาตอนปลาย ปางขัดสมาธิเพชร ประดิษฐานอยู่ในบุษบกแบบมอญ (จองพารา) สลักโดยฝีมือช่างที่นี่ ที่มุขเด็จหน้าวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปหินอ่อน ซึ่ง ซาง ซิว ซูน ชาวพม่าถวายให้กับรัชกาลที่ 5 พระวิหาร เปิดทุกวันตั้งแต่ 9.00 - 16.00 น.
2.วัดเสาธงทอง
ที่มา: http://www.manager.co.th/
วัดเสาธงทอง สร้างเมื่อ พ.ศ. 2313 เป็นวัดเก่า เดิมชื่อ "วัดสวนหมาก" นอกจากเป็นที่ตั้งโรงเรียนประถมแห่งแรกของอำเภอปากเกร็ดแล้ว ด้านหลังโบสถ์ยังประดิษฐาน เจดีย์ที่สูงที่สุดของอำเภอปากเกร็ดด้วย พระเจดีย์เป็นศิลปะอยุธยาย่อมุมไม้สิบสอง มีเจดีย์องค์เล็กเป็นบริวารโดยรอบอีก 2 ชั้น ส่วนด้านข้างโบสถ์มีเจดีย์องค์ใหญ่อีก 2 องค์ องค์หนึ่งเป็นเจดีย์ทรงระฆังหรือทรงลังกา อีกองค์หนึ่งเป็นเจดีย์ทรงมะเฟืองกลีบอวบองค์สุดท้ายของโลก ภายในโบสถ์มีลายเพดานสวยงามมาก เขียนลายทองกรวยเชิงอย่างงดงาม พระประธานเป็นพระปางมารวิชัยปูนปั้นขนาดใหญ่ คนมอญ เรียกวัดนี้ว่า “เพี๊ยะอาล๊าต” หน้าโบสถ์มีเจดีย์ขนาดย่อมสององค์ รูปทรงคล้ายมะเฟือง ฐานสี่เหลี่ยมย่อมุมสิบสอง ประดับลายปูนปั้น มีต้นยางใหญ่อายุประมาณ 200 ปี เปิดทุกวันตั้งแต่ 9.00 - 16.00 น.
3.วัดไผ่ล้อม
ที่มา: http://www.painaidii.com/
วัดไผ่ล้อมเป็นวัดที่สร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย พระอุโบสถสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2318 มีความงดงามเป็นอย่างมาก ลายหน้าบันจำหลักไม้เป็นลายดอกไม้ มีคันทวย และบัวหัวเสาที่งดงามเช่นกัน คนมอญเรียกวัดนี้ว่า "เพี๊ยะโต้" โดยพระยาเจ่ง ต้นตระกูลคชเสนีย์ ผู้คุมไพร่พลกองมอญที่เข้ามาอาศัยพึงพระบรมโพธิสมภาร และให้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในจังหวัดนนทบุรีขึ้นไปถึงอำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี
ปูชนียสถานที่สำคัญคือ อุโบสถ เป็นอาคารขนาดทรงโรงขนาด 5 ชั้น ก่ออิฐถือปูน หน้าบันไดไม้จำหลักลายดอกพุดตานใบเทศปิดทองประดับกระจกทั้งหมด หน้าอุโบสถมีเจดีย์ขยาดย่อม 2 องค์ รูปทรงเจดีย์ทรงรามัญประดับลายปูนปั้น ภายในวัดไผ่ล้อมจะมี พระพุทธชินราช และพระพุทธรูปหลวงพ่อโต อยู่ด้านหน้าโบสถ์ ให้นักท่องเที่ยวได้กราบสักการะก่อนเข้าไปกราบไหว้พระพุทธรูปด้านใน
ด้านหลังอุโบสถเดิมเป็นที่ประดิษฐานของพระฐาตุรามัญเจดีย์ (พระมหาเจดีย์ชเวดากองจำลอง) ซึ่งเป็นศิลปะพม่า มีพระธาตุรามัญเจดีย์ขนาดใหญ่แต่ชำรุดปรักหักพัง ทางวัดได้สร้างพระเจดีย์องค์ใหม่ครอบองค์เจดีย์เดิม เมื่อ พ.ศ. 2530 เป็นเจดีย์มอญที่มีความงดงาม องค์พระเจดีย์ประดิษฐานอยู่บนฐานใหญ่ รอบฐานในทิศทั้งแปด มีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปประจำวัดแบบมอญ ทั้ง 8 ทิศ กำแพงแก้วล้อมรอบพระธาตุรามัญเจดีย์ ทางด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตก มีซุ้มประตูแบบมอญทั้งสองด้านสามารถบอกประวัติความเป็นมาของวัด และศิลปกรรมชาวมอญบนเกาะเกร็ดได้เช่นกันเป็นอุโบสถที่มีความงามหลังหนึ่งเช่นเดียวกับอุโบสถวัดฉิมพลีสุธาวาส ถือเป็นโบสถ์สมัยอยุธยาที่งามมากแห่งหนึ่งมีการซ่อมครั้งใหญ่สมัยรัชกาลที่ 2 ถึงรัชกาลที่ 3 มีเจ้าอาวาส พระอางุย สุนฺทโร (วงษ์สกุล) คนในพื้นที่เรียกวัดนี้ว่าวัดมอญ เปิดทุกวันตั้งแต่ 9.00 - 16.00 น.
4.วัดฉิมพลีสุทธาวาส
ที่มา http://www.bloggang.com/
วัดฉิมพลีตั้งอยู่บนเกาะเกร็ดทางด้านทิศใต้ เป็นวัดโบราณ ที่ชาวบ้านสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาเรียกกันว่า "วัดป่าฝ้าย" มีชื่อเต็มว่า "วัดฉิมพลีสุทธาวาส" มีพระอุโบสถเก่าขนาดเล็กลักษณะงดงามมาก และยังคงสภาพสมบูรณ์ตามแบบเดิม หน้าบันจำหลักไม้เป็นรูปเทพทรงราชรถ ล้อมรอบด้วยลายดอกไม้ ยอดมณฑป ซุ้มปประตูและซุ้มหน้าต่างเป็นแบบหน้านางซึ่งยังคงความงามอยู่ ฐานพระอุโบสถโค้งแบบเรือสำเภา ด้านเหนือพระอุโบสถมี เจดีย์ทรงระฆังซึ่งแปลกกว่าที่อื่น คือ มีกระจกสีประดับอยู่ที่องค์เจดีย์ นอกจากนี้ยังมีตุ๊กตาจีนขนาดใหญ่ตั้งอยู่ข้างประตูกำแพงพระอุโบสถ 2 ตัวอีกด้วย
อาณาบริเวณของวัดฉิมพลีในปัจจุบันนั้นใหญ่กว่าในอดีตเนื่องจากรวมเอาอาณาบริเวณของวัดป่าเลไลย์ ซึ่งในขณะนี้เป็นวัดร้างเข้าด้วยกันแล้ว วัดป่าเลไลย์นี้มีพระอุโบสถที่สร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนกลาง และมีใบเสมาทำจากหินชนวนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในปากเกร็ด บานประตูเขียนลายทองรดน้ำภาพเสี้ยวกาง ที่งดงาม แต่ได้ลบเลือนไปมากแล้วรวมทั้งยังมีความสูง 1.69 เมตร ส่วนพระประธาน และพระพุทธรูปทรงเครื่องน้อยแบบอยุธยา ได้นำไปประดิษฐานที่พระอุโบสถ เปิดทุกวันตั้งแต่ 9.00 - 16.00 น.
5.กวานอาม่าน (หมูบ้านดินเผา)
ในการดำเนินชีวิตประจำวันของชาวมอญเกาะเกร็ดในอดีตมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการทำเครื่องปั้นดินเผานานนับร้อยปี เรียกได้ว่าการทำเครื่องปั้นดินเผาเป็นอาชีพที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของชาวมอญเกาะเกร็ด เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันและเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของชาวมอญเกาะเกร็ดหลายเรื่อง เช่น การพึ่งพาอาศัยกันในการทำมาหากินเพื่อการดำรงชีวิตอยู่ของคนในชุมชน การให้ความเคารพนับถือผู้มีความสามารถพิเศษในวิชาชีพที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตในสังคม คติความเชื่อของชาวมอญเกาะเกร็ดเกี่ยวกับผีที่เกี่ยวเนื่องกับการทำเครื่องปั้นดินเผาอันเป็นสิ่งที่ทำให้ชาวมอญเกาะเกร็ดเป็นที่รู้จักของสังคมภายนอก
ปัจจุบันชาวมอญเกาะเกร็ดมิได้ผลิตเครื่องปั้นดินเผาทุกครัวเรือนแล้ว เนื่องจากความนิยมในการใช้เครื่องปั้นดินเผาลดลง อีกทั้งวัสดุในการผลิตก็หายากและมีราคาแพง ชาวมอญเกาะเกร็ดหันไปทำอาชีพอื่นเป็นส่วนมาก จนเมื่อรัฐบาลมีนโยบายให้ประชาชนอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย พร้อมทั้งส่งเสริมให้มีการท่องเที่ยวในประเทศไทยมากขึ้น เกาะเกร็ดและเครื่องปั้นดินเผาของชาวมอญแห่งนี้จึงได้รับความสนใจอีกครั้ง ทำให้ชาวมอญเกาะเกร็ดหันมาผลิตเครื่องปั้นดินเผาประเภทสวยงามจำหน่ายแก่นักท่องเที่ยว หลังจากซบเซาไปนานแต่ก็เทียบไม่ได้กับในอดีตที่มีการผลิตมากกว่าหลายสิบเท่า
พิพิธภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา เป็นศูนย์วัฒนธรรมพื้นบ้านชาวมอญ จัดแสดงเครื่องปั้นดินเผามอญลายโบราณ การปั้นเครื่องปั้นดินเผา นั้นเป็นอาชีพชาวมอญมาตั้งแต่ครั้งตั้งถิ่นฐานแถบลุ่มแม่น้ำอิรวดี และมีมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี นับเป็นหัตถกรรมพื้นบ้านที่เก่าแก่ ที่สุดในจังหวัดนนทบุรี ลวดลายประณีตสวยงามเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ และยังเป็นสัญลักษณ์ตราประจำจังหวัดนนทบุรี สองข้างทาง เดินบนเกาะมีบางบ้านที่ทำเครื่องปั้นดินเผา ภาชนะของใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น กระถาง ครก โอ่งน้ำ ฯลฯ เปิดให้เข้าชมทุกวัน ระหว่างเวลา 09.00 – 17.00 น.
สำหรับการข้ามมายังเกาะเกร็ดโดยเรือข้ามฟากได้สองท่าคือ ท่าเรือวัดสนามเหนือ (ไม่ไกลจากท่าน้ำปากเกร็ด) หรือท่าเรือวัดกลางเกร็ด มีเรือบริการระหว่าง 05.00-21.30 น. เปิดทำการทุกวัน เวลา 08.00 - 17.00 น.
ชุมชนคนมอญเกาะเกร็ดนั้นเป็นแหล่งรวมวัฒนธรรมที่สำคัญแห่งหนึ่งในประเทศไทย ซึ่งสะท้อนให้เห็นพัฒนาการหลายด้านที่เติบโตควบคู่มากับประเทศไทย และการมาเที่ยวเกาะเกร็ดนั้นมาเพื่อให้เห็นชีวิตประจำวันของชาวมอญเกาะเกร็ดที่ยังคงหลงเหลือวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมอยู่ โดยเฉพาะความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา และเครื่องปั้นดินเผาที่มีลวดลายสวยงามตามแบบฉบับช่างฝีมือชาวมอญ ซึ่งได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมากโดยเฉพาะชาวต่างประเทศที่นิยมซื้อเพื่อเป็นของที่ระลึก อีกทั้งลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่มีเกาะตั้งอยู่กลางแม่น้ำเจ้าพระยาจึงเป็นเสน่ห์ที่สามารถดึงดูดผู้คนทั้งใน และนอกประเทศได้เป็นอย่างดี
อ้างอิง
อลิสา รามโกมุท. เกาะเกร็ด:วิถีชีวิตชุมชนมอญริมน้ำเจ้าพระยา. กรุงเทพฯ : สมาพันธ์.
2542.
THAIWEEKENDER
กระปุกดอทคอม. 2558. เที่ยวเกาะเกร็ด เกาะกลางลำน้ำเจ้าพระยา. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2558, จาก http://travel.kapook.com/view649.html
Dhurakij Pundit University. 2558. เกาะเกร็ด. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2558, จาก http://www.dpu.ac.th/dpuplace
ทัวร์ออนไทยดอทคอม. 2558. วัดเสาธงทอง. สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2558, จาก http://www.touronthai.com
No comments:
Post a Comment