เวียงกุมกาม จังหวัดเชียงใหม่

โดย นันทกานต์ เกษลา

เวียงกุมกามเป็นเมืองที่ได้ชื่อว่า “เมืองใต้บาลดาล” จากเมืองที่เป็นเพียงเอกสารบันทึกโบราณ จนกลายมาเป็นปริศนาที่หลายคนได้ให้ความสนใจ เมืองแห่งนี้สร้างขึ้นโดยพญามังราย ในราว พ.ศ.1837 และถูกค้นพบเมื่อ พ.ศ.2527 ทำให้ผู้คนสนใจศึกษาเกี่ยวกับเมืองนี้มากขึ้น

เวียงกุมกามเป็นเมืองที่ถูกสร้างขึ้นโดยพญามังราย มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า  และติดกับแม่น้ำปิง (เดิมแม่น้ำปิงไหลไปทางทิศตะวันออกของเมือง) โดยมีความต้องการที่จะสร้างขึ้นแทนเมืองหริภุญชัย ซึ่งเป็นเมืองที่พญามังรายยึดได้ และเพราะเมืองนั้นมีอายุมากกว่า 500 ปี ยากแก่การขยับขยาย พญามังรายจึงทรงย้ายเมืองมาที่เวียงกุมกาม และสถาปนาเป็นเมืองหลวงแห่งแรกในอาณาจักรล้านนา และยังมีความสำคัญในด้านการค้าอีกด้วย

แต่เนื่องด้วยเวียงกุมกามเป็นบริเวณลุ่มแม่น้ำ ทำให้เกิดการท่วมขังของน้ำ ทำให้พญามังรายตัดสินใจที่จะสร้างเมืองใหม่ คือ “นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่" แต่เวียงกุมกามก็ยังมีความสำคัญเช่นเดิม จึงต้องทำให้มีการขยายของชุมชน และเป็นเมืองที่มีความใกล้ชิดกับเชียงใหม่ จนถึงสิ้นราชวงศ์มังราย แต่ยังไม่มีใครแน่ใจว่าเวียงกุมกามได้ล้มสลายไปเมื่อไร แต่ในหลักฐานทางประวัติศาสตร์เชื่อว่าได้ล่มสลายเพราะน้ำท่วมใหญ่ในตอนที่ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า

เวียงกุมกามจึงกลายเป็นเมืองใต้บาดาลและประกอบกับน้ำปิงได้เปลี่ยนสายไม่ไหลผ่านเวียงกุมกาม ทำให้เวียงกุมกามนั้นถูกทอดทิ้งไปนานนับร้อยๆปี และเมืองนี้ถูกค้นพบโดยนักโบราณคดี ในปี 2527 และในบริเวณนั้นได้พบว่ามีอยู่มากกว่า 40 แห่ง ทั้งที่เป็น ซากโบราณสถาน และเป็นวัดที่มีพระสงฆ์โบราณสถานที่สำคัญ ได้แก่ วัดเจดีย์เหลี่ยม วัดช้างค้ำ และซากเจดีย์วัดกุมกาม วัดน้อย วัดปู่เปี้ย วัดธาตุขาว วัดอีค่างซึ่งรูปแบบทางศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมนี้ มีทั้งแบบรุ่นเก่าและสมัยเชียงใหม่ รุ่งเรืองปะปนกันไป

สถานที่แต่ละที่ในอดีตล้วนแล้วแต่มีความสำคัญและจุดประสงค์ที่จะสร้างขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นในลักษณะอย่างไรก็ตาม และในกรณีเวียงกุมกามก็ได้เป็นเมืองที่สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นเมืองหลวงและเป็นเมืองท่า แต่ก็ได้สลายหายไปในที่สุดเพราะกระแสน้ำ จนทำให้เหลือแต่เพียงชื่อ แต่เมืองแห่งนี้อาจเป็นเมืองที่ถูกลืมเพราะด้วยระยะเวลา และการที่เมืองได้ล่มสลายไป แต่ไม่ว่าระยะเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน เมืองนี้ก็ยังมีความสวยงามและเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นด้านสถาปัตยกรรมและด้านอื่นๆ

อ้างอิง

เวียงกุมกาม. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2557 จาก http://th.wikipedia.org/wiki/เวียงกุมกาม

เวียงกุมกาม. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2557 จาก http://www.youtube.com/watch?v=bflVwdMTlbk




No comments:

Post a Comment