โดย ปุณยวัจน์ ศุภวุฒิ
มีผู้กล่าวกันว่าหากได้มาเยือนจังหวัดสกลนครแล้ว แต่ไม่ได้มาสักการะวัดพระธาตุเชิงชุมและหลวงพ่อพระองค์แสน ก็ถือว่ายังมาไม่ถึงจังหวัดแห่งนี้
วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร มีเนื้อที่ 18 ไร่ 1 งาน 27 ตารางวา ตั้งอยู่ปลายสุดของถนนเจริญเมือง มีอาณาเขตในแต่ละด้าน คือ ทิศเหนือและทิศตะวันออก ติดกับทะเลสาบหนองหารและบ้านเรือนชุมชน ทิศตะวันตก ติดกับถนนเรืองสวัสดิ์ ทิศใต้ ติดกับถนนเจริญเมือง เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองสกลนครมาช้านาน อีกทั้งยังเป็นสถานที่ประกอบศาสนพิธีสำคัญของ จังหวัดสกลนครอีกด้วย
การสร้างวัดพระธาตุเชิงชุมนั้นไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัดว่าสร้างขึ้นเมื่อใด มีแต่เพียงตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาว่า เมื่อครั้งพุทธกาล พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระอานนท์ ได้เสด็จจากพระวิหารเชตวัน พระองค์ทรงเสด็จมาตามลำแม่น้ำโขง และได้เสด็จผ่านไปยังรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ อันได้แก่ พระพุทธบาทบัวบก พระพุทธบาทโพนเพล พระพุทธบาทเวินปลา ภูกำพร้า ซึ่งเป็นที่ตั้งของพระธาตุพนม พระพุทธบาทที่ภูน้ำลอดเชิงชุม พระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าพระนามกกุ-สันธะ พระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าพระนามโกนาคมะ และพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าพระนามกัสสปะ
เมื่อพระองค์เสด็จมาถึงบริเวณที่ตั้งวัดพระธาตุเชิงชุมในปัจจุบัน พระเจ้าสุวรรณภิงคาระ เจ้าผู้ครองเมือง ณ ขณะนั้นทรงทราบข่าว พระองค์จึงได้เสด็จออกพร้อมด้วยพระนางนารายณ์เจงเวงราชเทวี เพื่อมาต้อนรับพระพุทธองค์ พระพุทธองค์ได้มีพุทธประสงค์ให้พระเจ้าสุวรรณภิงคาระทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามากยิ่งขึ้น จึงทรงแสดงปาฏิหาริย์ โดยบันดาลให้มีดวงมณีรัตน์ซึ่งมีรัศมีพวยพุ่งออกจากพระโอษฐ์พร้อมกันสามดวง พระเจ้าสุวรรณภิงคาระทรงเห็นเป็นอัศจรรย์ก็บังเกิดความศรัทธา เปล่งวาจาสาธุการด้วยความปิติ พระเจ้าสุวรรณภิงคาระจึงถอดพระมงกุฎทองคำของพระองค์ สวมบูชารอยพระพุทธบาทไว้ จากนั้นจึงได้สร้างเจดีย์ครอบรอยพระพุทธบาทดังกล่าว ซึ่งต่อมาได้ชื่อว่า พระธาตุเชิงชุม ส่วนบันทึกที่เป็นลายลักษณ์อักษรอื่นๆ ที่กล่าวถึงพระธาตุเชิงชุมนั้น มีปรากฏในพงศาวดารลาวในสมัยพระไชยเชษฐาธิราช แห่งกรุงศรีสัตนาคนหุต อาณาจักรล้านช้าง เรียกพระธาตุเชิงชุมว่า พระธาตุหนองหาน
สิ่งก่อสร้างภายในวัดพระธาตุเชิงชุมประกอบไปด้วย องค์พระธาตุเชิงชุม พระวิหาร อุโบสถ บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ หอกลอง และยังมีหลวงพ่อพระองค์แสน พระคู่บ้านคู่เมืองของชาวสกลนครประดิษฐานอยู่ในพระวิหาร ดังจะได้กล่าวถึงในรายละเอียดตามลำดับดังนี้
พระธาตุเชิงชุม องค์พระธาตุนั้นหันหน้าไปทางทะเลสาบหนองหารที่อยู่ทางทิศตะวันออก เป็นศิลปะแบบล้านช้าง มีลักษณะเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน รูปทรงสี่เหลี่ยม สูง 24 เมตร ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยม ส่วนบนเป็นทรงบัวเหลี่ยม ไม่มีลวดลายประดับ ที่ฐานเจดีย์มีซุ้มประตูทั้งสี่ด้าน ซุ้มยอดประตูมีลักษณะเป็นยอดปราสาท ข้างในทึบ สร้างด้วยศิลาแลงและหินทรายแดง มีซุ้มประตูหลอกแบบขอมอยู่ทางด้านทิศเหนือ ทิศใต้ และทิศตะวันตก ซุ้มประตูทางเข้าจริงอยู่ทางด้านทิศตะวันออก
พระวิหาร มีขนาดกว้างประมาณ 6 เมตร ยาวประมาณ 30 เมตร หลังคาลดชั้น ด้านหน้าลด 2 ชั้น ด้านหลังลด 2 ชั้น เครื่องยอดหลังคาประดับด้วยช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ป้านลมเป็นแบบนาคสะดุ้ง มีคันทวยรองรับหลังคา ประดับตกแต่งด้วยซุ้มประตูและซุ้มหน้าต่างอย่างงดงาม เสาอาคารเป็นเสาสี่เหลี่ยมหัวบัวแวง
ภายในพระวิหารประดิษฐาน หลวงพ่อพระองค์แสน ซึ่งเป็นพระพุทธรูปประธาน ปางมารวิชัย เป็นศิลปะแบบเชียงแสน มีรัศมีเปลว เม็ดพระศกเล็ก พระพักตร์กลม พระขนงโก่ง พระนาสิกโด่ง พระวรกายอวบอ้วน ห่มจีวรบางแนบเนื้อ ห่มแบบเฉียง ปลายสังฆาฏิเสมอพระนาภี นิ้วพระหัตถ์ขวาทั้งสี่ยาวเรียวเสมอกัน ประทับนั่งอยู่บนฐานชุกชีสูง 1.35 เมตร ขัดสมาธิราบ ก่ออิฐถือปูน ลงรักปิดทอง หน้าตักกว้าง 2 เมตร สูงจากฐานถึงพระเมาลี 3.20 เมตร หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก หันพระปฤษฎางค์เข้าหาองค์พระธาตุ หลวงพ่อพระองค์แสนเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวสกลนคร คู่กับองค์พระธาตุเชิงชุม ประดิษฐานเป็นพระประธานอยู่ภายในพระวิหาร อีกทั้งยังเป็นพระพุทธรูปที่มีความศักดิ์สิทธิ์มากอีกองค์หนึ่งของประเทศไทย
พระอุโบสถ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2370 สร้างทับพระอุโบสถหลังเดิม มีลักษณะเป็นอุโบสถแบบโถง โครงสร้างเป็นไม้ก่ออิฐถือปูน หลังคาเป็นกระเบื้อง หันหน้าไปทางทิศใต้ ภายในมีจิตรกรรมเป็นภาพเถาไม้เลื้อยเป็นแนวรอบอาคาร หน้าบันมีจิตรกรรมฝาผนังเป็นรูปเทพบุตรและเทพธิดา ดาวประจำยาม มังกรและเถาไม้เลื้อย ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปหลายองค์ ทั้งที่สร้างด้วยไม้และเป็นปูนปั้น
บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ เป็นบ่อน้ำที่มีมาพร้อมองค์พระธาตุเชิงชุม เดิมมีน้ำพุผุดขึ้นมาเนื่องจากเป็นปลายทางของลำน้ำใต้ดินซึ่งไหลมาจากเทือกเขาภูพาน ผ่านศูนย์ราชการด้านทิศเหนือ ผ่านใจกลางเมืองข้างวัดเหนือ แล้วไหลมาผุดที่บริเวณนี้ เรียกว่า “ภูน้ำซอด” หรือ “ภูน้ำลอด” จากนั้นไหลผ่านไปที่สระพังทองในสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ซึ่งอยู่ติดกับวัด ต่อมาปรากฏว่าปริมาณน้ำในบ่อลดน้อยลงเรื่อย ๆ ทางวัดจึงได้มีการทำผนังกั้นไม่ให้ดินพังลงไป ในอดีตนั้นจะมีการนำน้ำจากบ่อน้ำที่นี่ไปประกอบพิธีกรรมสำคัญต่างๆ อีกด้วย
หอกลอง หรือ หอระฆัง มีลักษณะเป็นหอกลองสูง มีทั้งหมดสามชั้น สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2503 โดยชาวเวียดนามที่ได้อพยพเข้ามาพำนักอาศัย ณ จังหวัดสกลนคร โดยมีจุดประสงค์เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาแก่องค์พระธาตุเชิงชุม อีกทั้งยังสามารถใช้บอกเวลายามต่างๆ ได้อีกด้วย
การเดินทางโดยรถยนต์มายังวัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร นั้น หากมาจากกรุงเทพ ฯ ให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 เมื่อถึง จังหวัดสระบุรี ให้เลี้ยวขวาเข้า ถนนมิตรภาพ (ทางหลวงหมายเลข 2) ผ่าน จ.นครราชสีมา จากนั้นให้เลี้ยวไปทาง อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น (ทางหลวงหมายเลข 2) ไปจนถึงบ้านท่าพระ จากนั้นเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 23 ผ่าน จังหวัดนครราชสีมา และ จังหวัดกาฬสินธุ์ และใช้ทางหลวงหมายเลข 213 เพื่อเข้าสู่จังหวัดสกลนคร
วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร ถือได้ว่าเป็นศูนย์รวมจิตใจชาวสกลนครและนับเป็นวัดที่มีความสำคัญยิ่งทางพุทธศาสนา ซึ่งบรรพบุรุษของชาวสกลนครได้เฝ้าทำนุบำรุงวัดแห่งนี้ด้วยความรัก ความศรัทธาอย่างสูงสุด สมควรที่คนรุ่นหลังจะสืบทอดเจตนารมณ์ของบรรพบุรุษให้วัดพระธาตุเชิงชุมคงอยู่และเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวสกลนครสืบไป
อ้างอิง
วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร จ.สกลนคร. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2558, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/วัดพระธาตุเชิงชุม
หลวงพ่อพระองค์แสน วัดพระธาตุเชิงชุม. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2558, จาก https://th.wikipedia.org/พระองค์แสน
แกะรอยอดีต “พระธาตุเชิงชุม” 4 อารยธรรม. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2558, จาก http://www.yclsakhon.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539692345
มีผู้กล่าวกันว่าหากได้มาเยือนจังหวัดสกลนครแล้ว แต่ไม่ได้มาสักการะวัดพระธาตุเชิงชุมและหลวงพ่อพระองค์แสน ก็ถือว่ายังมาไม่ถึงจังหวัดแห่งนี้
วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร มีเนื้อที่ 18 ไร่ 1 งาน 27 ตารางวา ตั้งอยู่ปลายสุดของถนนเจริญเมือง มีอาณาเขตในแต่ละด้าน คือ ทิศเหนือและทิศตะวันออก ติดกับทะเลสาบหนองหารและบ้านเรือนชุมชน ทิศตะวันตก ติดกับถนนเรืองสวัสดิ์ ทิศใต้ ติดกับถนนเจริญเมือง เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองสกลนครมาช้านาน อีกทั้งยังเป็นสถานที่ประกอบศาสนพิธีสำคัญของ จังหวัดสกลนครอีกด้วย
ที่มา: https://th.wikipedia.org/
การสร้างวัดพระธาตุเชิงชุมนั้นไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัดว่าสร้างขึ้นเมื่อใด มีแต่เพียงตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาว่า เมื่อครั้งพุทธกาล พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระอานนท์ ได้เสด็จจากพระวิหารเชตวัน พระองค์ทรงเสด็จมาตามลำแม่น้ำโขง และได้เสด็จผ่านไปยังรอยพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ อันได้แก่ พระพุทธบาทบัวบก พระพุทธบาทโพนเพล พระพุทธบาทเวินปลา ภูกำพร้า ซึ่งเป็นที่ตั้งของพระธาตุพนม พระพุทธบาทที่ภูน้ำลอดเชิงชุม พระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าพระนามกกุ-สันธะ พระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าพระนามโกนาคมะ และพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าพระนามกัสสปะ
เมื่อพระองค์เสด็จมาถึงบริเวณที่ตั้งวัดพระธาตุเชิงชุมในปัจจุบัน พระเจ้าสุวรรณภิงคาระ เจ้าผู้ครองเมือง ณ ขณะนั้นทรงทราบข่าว พระองค์จึงได้เสด็จออกพร้อมด้วยพระนางนารายณ์เจงเวงราชเทวี เพื่อมาต้อนรับพระพุทธองค์ พระพุทธองค์ได้มีพุทธประสงค์ให้พระเจ้าสุวรรณภิงคาระทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามากยิ่งขึ้น จึงทรงแสดงปาฏิหาริย์ โดยบันดาลให้มีดวงมณีรัตน์ซึ่งมีรัศมีพวยพุ่งออกจากพระโอษฐ์พร้อมกันสามดวง พระเจ้าสุวรรณภิงคาระทรงเห็นเป็นอัศจรรย์ก็บังเกิดความศรัทธา เปล่งวาจาสาธุการด้วยความปิติ พระเจ้าสุวรรณภิงคาระจึงถอดพระมงกุฎทองคำของพระองค์ สวมบูชารอยพระพุทธบาทไว้ จากนั้นจึงได้สร้างเจดีย์ครอบรอยพระพุทธบาทดังกล่าว ซึ่งต่อมาได้ชื่อว่า พระธาตุเชิงชุม ส่วนบันทึกที่เป็นลายลักษณ์อักษรอื่นๆ ที่กล่าวถึงพระธาตุเชิงชุมนั้น มีปรากฏในพงศาวดารลาวในสมัยพระไชยเชษฐาธิราช แห่งกรุงศรีสัตนาคนหุต อาณาจักรล้านช้าง เรียกพระธาตุเชิงชุมว่า พระธาตุหนองหาน
สิ่งก่อสร้างภายในวัดพระธาตุเชิงชุมประกอบไปด้วย องค์พระธาตุเชิงชุม พระวิหาร อุโบสถ บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ หอกลอง และยังมีหลวงพ่อพระองค์แสน พระคู่บ้านคู่เมืองของชาวสกลนครประดิษฐานอยู่ในพระวิหาร ดังจะได้กล่าวถึงในรายละเอียดตามลำดับดังนี้
พระธาตุเชิงชุม องค์พระธาตุนั้นหันหน้าไปทางทะเลสาบหนองหารที่อยู่ทางทิศตะวันออก เป็นศิลปะแบบล้านช้าง มีลักษณะเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน รูปทรงสี่เหลี่ยม สูง 24 เมตร ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยม ส่วนบนเป็นทรงบัวเหลี่ยม ไม่มีลวดลายประดับ ที่ฐานเจดีย์มีซุ้มประตูทั้งสี่ด้าน ซุ้มยอดประตูมีลักษณะเป็นยอดปราสาท ข้างในทึบ สร้างด้วยศิลาแลงและหินทรายแดง มีซุ้มประตูหลอกแบบขอมอยู่ทางด้านทิศเหนือ ทิศใต้ และทิศตะวันตก ซุ้มประตูทางเข้าจริงอยู่ทางด้านทิศตะวันออก
ที่มา: http://www.oknation.net/
พระวิหาร มีขนาดกว้างประมาณ 6 เมตร ยาวประมาณ 30 เมตร หลังคาลดชั้น ด้านหน้าลด 2 ชั้น ด้านหลังลด 2 ชั้น เครื่องยอดหลังคาประดับด้วยช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ป้านลมเป็นแบบนาคสะดุ้ง มีคันทวยรองรับหลังคา ประดับตกแต่งด้วยซุ้มประตูและซุ้มหน้าต่างอย่างงดงาม เสาอาคารเป็นเสาสี่เหลี่ยมหัวบัวแวง
ภายในพระวิหารประดิษฐาน หลวงพ่อพระองค์แสน ซึ่งเป็นพระพุทธรูปประธาน ปางมารวิชัย เป็นศิลปะแบบเชียงแสน มีรัศมีเปลว เม็ดพระศกเล็ก พระพักตร์กลม พระขนงโก่ง พระนาสิกโด่ง พระวรกายอวบอ้วน ห่มจีวรบางแนบเนื้อ ห่มแบบเฉียง ปลายสังฆาฏิเสมอพระนาภี นิ้วพระหัตถ์ขวาทั้งสี่ยาวเรียวเสมอกัน ประทับนั่งอยู่บนฐานชุกชีสูง 1.35 เมตร ขัดสมาธิราบ ก่ออิฐถือปูน ลงรักปิดทอง หน้าตักกว้าง 2 เมตร สูงจากฐานถึงพระเมาลี 3.20 เมตร หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก หันพระปฤษฎางค์เข้าหาองค์พระธาตุ หลวงพ่อพระองค์แสนเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวสกลนคร คู่กับองค์พระธาตุเชิงชุม ประดิษฐานเป็นพระประธานอยู่ภายในพระวิหาร อีกทั้งยังเป็นพระพุทธรูปที่มีความศักดิ์สิทธิ์มากอีกองค์หนึ่งของประเทศไทย
พระอุโบสถ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2370 สร้างทับพระอุโบสถหลังเดิม มีลักษณะเป็นอุโบสถแบบโถง โครงสร้างเป็นไม้ก่ออิฐถือปูน หลังคาเป็นกระเบื้อง หันหน้าไปทางทิศใต้ ภายในมีจิตรกรรมเป็นภาพเถาไม้เลื้อยเป็นแนวรอบอาคาร หน้าบันมีจิตรกรรมฝาผนังเป็นรูปเทพบุตรและเทพธิดา ดาวประจำยาม มังกรและเถาไม้เลื้อย ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปหลายองค์ ทั้งที่สร้างด้วยไม้และเป็นปูนปั้น
บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ เป็นบ่อน้ำที่มีมาพร้อมองค์พระธาตุเชิงชุม เดิมมีน้ำพุผุดขึ้นมาเนื่องจากเป็นปลายทางของลำน้ำใต้ดินซึ่งไหลมาจากเทือกเขาภูพาน ผ่านศูนย์ราชการด้านทิศเหนือ ผ่านใจกลางเมืองข้างวัดเหนือ แล้วไหลมาผุดที่บริเวณนี้ เรียกว่า “ภูน้ำซอด” หรือ “ภูน้ำลอด” จากนั้นไหลผ่านไปที่สระพังทองในสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ซึ่งอยู่ติดกับวัด ต่อมาปรากฏว่าปริมาณน้ำในบ่อลดน้อยลงเรื่อย ๆ ทางวัดจึงได้มีการทำผนังกั้นไม่ให้ดินพังลงไป ในอดีตนั้นจะมีการนำน้ำจากบ่อน้ำที่นี่ไปประกอบพิธีกรรมสำคัญต่างๆ อีกด้วย
หอกลอง หรือ หอระฆัง มีลักษณะเป็นหอกลองสูง มีทั้งหมดสามชั้น สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2503 โดยชาวเวียดนามที่ได้อพยพเข้ามาพำนักอาศัย ณ จังหวัดสกลนคร โดยมีจุดประสงค์เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาแก่องค์พระธาตุเชิงชุม อีกทั้งยังสามารถใช้บอกเวลายามต่างๆ ได้อีกด้วย
การเดินทางโดยรถยนต์มายังวัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร นั้น หากมาจากกรุงเทพ ฯ ให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 เมื่อถึง จังหวัดสระบุรี ให้เลี้ยวขวาเข้า ถนนมิตรภาพ (ทางหลวงหมายเลข 2) ผ่าน จ.นครราชสีมา จากนั้นให้เลี้ยวไปทาง อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น (ทางหลวงหมายเลข 2) ไปจนถึงบ้านท่าพระ จากนั้นเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 23 ผ่าน จังหวัดนครราชสีมา และ จังหวัดกาฬสินธุ์ และใช้ทางหลวงหมายเลข 213 เพื่อเข้าสู่จังหวัดสกลนคร
วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร ถือได้ว่าเป็นศูนย์รวมจิตใจชาวสกลนครและนับเป็นวัดที่มีความสำคัญยิ่งทางพุทธศาสนา ซึ่งบรรพบุรุษของชาวสกลนครได้เฝ้าทำนุบำรุงวัดแห่งนี้ด้วยความรัก ความศรัทธาอย่างสูงสุด สมควรที่คนรุ่นหลังจะสืบทอดเจตนารมณ์ของบรรพบุรุษให้วัดพระธาตุเชิงชุมคงอยู่และเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวสกลนครสืบไป
อ้างอิง
วัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร จ.สกลนคร. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2558, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/วัดพระธาตุเชิงชุม
หลวงพ่อพระองค์แสน วัดพระธาตุเชิงชุม. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2558, จาก https://th.wikipedia.org/พระองค์แสน
แกะรอยอดีต “พระธาตุเชิงชุม” 4 อารยธรรม. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2558, จาก http://www.yclsakhon.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539692345
Merit Casino | SEGA Genesis | The Highest Payout Online
ReplyDeleteMerit casino gives you the chance to earn some REAL rewards, and is a top online casino. You 퍼스트카지노 can 바카라사이트 play real money games, such 메리트카지노 as Blackjack, Poker and more.Games · Online Casino · Join