โดย ศิรดา ฮอหรินทร์
หากจะกล่าวถึงวัดประจำปีเกิดนักษัตร คงเลี่ยงไม่ได้ที่จะพูดถึงวัดเก่าแก่ชื่อดังแห่งหนึ่งในเมืองเชียงใหม่ ซึ่งมีศิลปะสถาปัตยกรรมล้านนาที่งดงาม โดดเด่นด้วยอิทธิพลสุโขทัย และรายล้อมไปด้วยย่านเมืองเก่า ทำให้วัดเกตการาม เป็นสถานที่ไม่ควรพลาดเมื่อไปเที่ยวเชียงใหม่
เดิมวัดเกตการามมีชื่อว่า วัดสระเกษหรือวัดเกตุแก้ว ตั้งอยู่บนถนนเจริญราษฎร์ ตำบลวัดเกตุ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ โดยสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1971 สมัยพระเจ้าสามฝั่งแกน (พระราชบิดาของพระเจ้าติโลกราช) กษัตริย์ราชวงศ์มังรายลำดับที่ 8 พระองค์ทรงโปรดให้พระยาเมือง พระยาคำ และพระยาลืม สร้างวัดเกตการามขึ้น โดยคำว่า "เกศ" มาจากชื่อของพระธาตุเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งเชื่อว่าเป็นที่ประดิษฐานพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้า นอกจากนี้ภายในวัดยังมีสถานที่สำคัญและน่าสนใจอีกหลายแห่งด้วยกันประกอบด้วย
พระเจดีย์เกษแก้วจุฬามณี เป็นเจดีย์ทรงกลมแบบล้านนา ฐานสี่เหลี่ยมย่อเก็จกว้าง 82 วา และยาว 63 วา แต่ละมุมฐานมีปูนปั้นรูปพญาครุฑ และเจดีย์บริวาร ทรงระฆังคว่ำประดับด้วยกระจกแก้วสี ส่วนยอดเป็นฉัตรสีทอง 7 ชั้น พระเจดีย์เกษแก้วจุฬามณีถูกกำหนดให้เป็นพระธาตุประจำปีจอที่สร้างขึ้นจำลองพระเกศแก้วจุฬามณีบนสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ลงมาไว้บนโลกมนุษย์ ด้วยเหตุที่มนุษย์เต็มไปด้วยกิเลส ตัณหา ไม่สามารถเดินทางไปถึงได้ นอกจากนี้องค์พระธาตุมีความเอียงเล็กน้อย เพราะไม่ต้องการให้ยอดเจดีย์ชี้ขึ้นไปบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อแสดงความอ่อนน้อม และไม่ล่วงเกินต่อพระเจดีย์เกศแก้วจุฬามณีองค์จริง
ตามพุทธประวัติกล่าวไว้ว่า ภายหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ง มีการแบ่งพระบรมสารีริกธาตุออกเป็นส่วนๆ โดยโทณพราหมณ์เป็นผู้แบ่ง และได้ขโมยซ่อนพระทันตธาตุไว้ในมวยผม จึงถูกพระอินทร์ลงมาขโมยต่อ แล้วนำพระทันตธาตุนี้ ไปประดิษฐานไว้ในพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เมื่อเจดีย์จุฬามณีเป็นเจดีย์ที่อยู่ไกลถึงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ จึงมีการสมมุติให้เจดีย์องค์หนึ่งในประเทศพม่าเป็นที่กราบไหว้แทน คนไทยจึงเรียกเจดีย์องค์นี้ว่า “พระธาตุอินทร์แขวน” พระธาตุอินทร์แขวนองค์นี้ ตั้งอยู่บนก้อนหินสูง 5.5 เมตร ใต้เจดีย์เป็นที่บรรจุพระเกศาธาตุ โดยอนุญาตให้เฉพาะผู้ชายเท่านั้นที่จะข้ามเข้าไปกราบและปิดทองถึงพระองค์ธาตุได้
พระอุโบสถ เป็นอาคารปูนตามแบบสถาปัตยกรรมมาล้านนา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของวัด จุดเด่นคือ มีมกรคายนาคสีคล้ำ 2 ตัว ขนาบข้างไปกับราวบันไดแล้วม้วนชูตัวขี้นมา แสดงให้เห็นถึงศรัทธาอันแรงกล้าที่ต้องการรับใช้และปกป้องพระพุทธศาสนา และบานประตูไม้แกะอ่อนช้อยสลักรูปเทพพนมสีทองบนลวดลายสีแดง บริเวณด้านข้างบานประตูยังมีลวดลายปูนปั้นรูปกิเลน มังกร ปลา และต้นไม้แบบจีนประดับทั้งสองข้างบานประตู แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของชาวจีนที่อพยพย้ายถิ่นเข้ามาตั้งถิ่นฐานริมแม่น้ำปิงเมื่อครั้นในอดีต ทำให้พระอุโบสถนี้มีความงดงามจากการผสมผสานวัฒนธรรมไทยและจีนได้อย่างลงตัว แม้พระอุโบสถหลังนี้จะปิดไว้ไม่ให้นักท่องเที่ยวเข้าไปเยี่ยมชมได้ เนื่องจากเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และจะเปิดใช้เฉพาะงานพิธีอุปสมบทเท่านั้น อีกทั้งยังห้ามสุภาพสตรีขึ้นไป แต่นักท่องเที่ยวก็สามารถชื่นชมความงดงามของพระอุโบสถได้จากทางด้านนอก
พระวิหารหลวง เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน 9 ห้อง สร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ ตัวอาคารมีเสาคู่ในการรองรับหลังคาหน้าจั่วเรียงซ้อนกัน 5 ชั้น ชั้นนอกสุดเป็นมุขคลุมบริเวณหน้าบันไดนาค ส่วนเสาคู่นอกรองรับแนวหลังคาปีกนกย่อเก็จ 3 ตอนในแนวตะวันออก - ตะวันตก โดยแต่ละตัวเสามีลวดลายสีทองงดงาม บริเวณหัวเสาประดับด้วยแก้วอังวะ ส่วนหน้าบันประดับงานไม้แกะสลักลวดลายพรรณพฤกษา ภายในพระวิหารประดิษฐานพระพุทธปางมารวิชัย ทางด้านหลังของพระวิหารประดับด้วยกระจกแก้วสีต่างๆ เกิดเป็นลวดลายสวยงามมาก
ศิลาจารึกวัดเกต ตั้งอยู่บนมุขทางใต้ของพระวิหาร มีความกว้าง 58 เซนติเมตร สูง 176 เซนติเมตร หนา 21 เซนติเมตร จารึกด้วยอักษรฝักขามบนหินทรายสีแดง ด้านหน้าของศิลาจารึก อักษรเลือนหายไปหมด เหลือเพียงดวงศิลาจารึก ส่วนด้านหลังของศิลาจารึกยังพอหลงเหลือตัวอักษรอยู่บ้าง
กุฏิพระสงฆ์ สามเณร เป็นอาคารไม้ยกสูงสองชั้นที่มีการผสมผสานวัฒนธรรมหลายส่วนเข้าด้วยกันอย่างลงตัวงดงาม ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมตะวันตกจะสังเกตได้จากมีการประดับตัวคิวปิดบริเวณบานประตู หรือจะเป็นศาลพระภูมิที่ได้ต้นแบบทั้งแนวคิดและรูปแบบมาจากพม่า ตัวอาคารมีทางขึ้นเป็นมุขยื่นออกมา 2 ด้าน สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2462 โดยนายจีนอินทร์ และนางจีบ ซิ้มกิวฮั่วเซ้ง เพื่อใช้เป็นโรงเรียนสอนนักธรรมบาลี ปริยัติธรรม ต่อมาไม่มีการเรียนการสอนจึงปรับปรุงให้เป็นกุฏิพระสงฆ์ สามเณร
พิพิธภัณฑ์วัดเกตการาม เป็นอาคารไม้เก่าแก่ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2543 จากความร่วมมือของคุณจรินทร์ เบนเและชาวบ้านย่านวัดเกต ทำการบูรณะกุฏิอดีตเจ้าอาวาสให้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ ภายในพิพิธภัณฑ์มีการจัดแสดงของเก่าแก่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นเงินตราที่ใช้ในอดีต ถ้วยโถโอชาม เสื้อผ้าชาวล้านนา พระพุทธรูปเก่าแก่ และภาพถ่ายเมืองเชียงใหม่ครั้งอดีต ที่เมื่อเข้าไปชมแล้วรู้สึกราวกับว่านั่งไทม์แมชชีนไปดูเมืองเชียงใหม่ในอดีตกันเลยทีเดียว
สำหรับผู้ที่อยากไปเที่ยวชมวัดเกตการามนั้นสามารถเดินทางไปได้ไม่ยาก การเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัวสามารถขับจากตัวเมืองเชียงใหม่ตรงมาที่สะพานนวรัตน์ ข้ามสะพานแล้วให้เลี้ยวซ้ายเลียบตามถนนเจริญราษฎร์ (ถนนริมน้ำปิง) ประมาณ 500 เมตร จะเห็นวัดอยู่ฝั่งขวามือ หรือสามารถนั่งรถสองแถวแดงจากสถานีขนส่งอาเขต เชียงใหม่ มาลงที่หน้าวัดเกตการามได้เลย เสียค่าโดยสารเพียง 15 บาทเท่านั้น โดยวัดเกตการามเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมฟรีทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00 - 16.00 น.
จากที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมด จะเห็นได้ว่าแม้จะผ่านกาลเวลามาหลายร้อยกว่าปี แต่วัดเกตการามยังคงเป็นสถานที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และมีสถาปัตยกรรมล้านนาที่งดงาม จนกลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์รวมจิตใจของผู้คนย่านวัดเกตการามได้เป็นอย่างดี
อ้างอิง
Guidelanna . (2558). ไหว้พระธาตุประจำปีเกิด. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2558, จาก http://www.guidelanna.com/
หากจะกล่าวถึงวัดประจำปีเกิดนักษัตร คงเลี่ยงไม่ได้ที่จะพูดถึงวัดเก่าแก่ชื่อดังแห่งหนึ่งในเมืองเชียงใหม่ ซึ่งมีศิลปะสถาปัตยกรรมล้านนาที่งดงาม โดดเด่นด้วยอิทธิพลสุโขทัย และรายล้อมไปด้วยย่านเมืองเก่า ทำให้วัดเกตการาม เป็นสถานที่ไม่ควรพลาดเมื่อไปเที่ยวเชียงใหม่
เดิมวัดเกตการามมีชื่อว่า วัดสระเกษหรือวัดเกตุแก้ว ตั้งอยู่บนถนนเจริญราษฎร์ ตำบลวัดเกตุ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ โดยสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1971 สมัยพระเจ้าสามฝั่งแกน (พระราชบิดาของพระเจ้าติโลกราช) กษัตริย์ราชวงศ์มังรายลำดับที่ 8 พระองค์ทรงโปรดให้พระยาเมือง พระยาคำ และพระยาลืม สร้างวัดเกตการามขึ้น โดยคำว่า "เกศ" มาจากชื่อของพระธาตุเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งเชื่อว่าเป็นที่ประดิษฐานพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้า นอกจากนี้ภายในวัดยังมีสถานที่สำคัญและน่าสนใจอีกหลายแห่งด้วยกันประกอบด้วย
พระเจดีย์เกษแก้วจุฬามณี เป็นเจดีย์ทรงกลมแบบล้านนา ฐานสี่เหลี่ยมย่อเก็จกว้าง 82 วา และยาว 63 วา แต่ละมุมฐานมีปูนปั้นรูปพญาครุฑ และเจดีย์บริวาร ทรงระฆังคว่ำประดับด้วยกระจกแก้วสี ส่วนยอดเป็นฉัตรสีทอง 7 ชั้น พระเจดีย์เกษแก้วจุฬามณีถูกกำหนดให้เป็นพระธาตุประจำปีจอที่สร้างขึ้นจำลองพระเกศแก้วจุฬามณีบนสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ลงมาไว้บนโลกมนุษย์ ด้วยเหตุที่มนุษย์เต็มไปด้วยกิเลส ตัณหา ไม่สามารถเดินทางไปถึงได้ นอกจากนี้องค์พระธาตุมีความเอียงเล็กน้อย เพราะไม่ต้องการให้ยอดเจดีย์ชี้ขึ้นไปบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อแสดงความอ่อนน้อม และไม่ล่วงเกินต่อพระเจดีย์เกศแก้วจุฬามณีองค์จริง
พระเจดีย์เกษแก้วจุฬามณี
พระอุโบสถ เป็นอาคารปูนตามแบบสถาปัตยกรรมมาล้านนา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของวัด จุดเด่นคือ มีมกรคายนาคสีคล้ำ 2 ตัว ขนาบข้างไปกับราวบันไดแล้วม้วนชูตัวขี้นมา แสดงให้เห็นถึงศรัทธาอันแรงกล้าที่ต้องการรับใช้และปกป้องพระพุทธศาสนา และบานประตูไม้แกะอ่อนช้อยสลักรูปเทพพนมสีทองบนลวดลายสีแดง บริเวณด้านข้างบานประตูยังมีลวดลายปูนปั้นรูปกิเลน มังกร ปลา และต้นไม้แบบจีนประดับทั้งสองข้างบานประตู แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของชาวจีนที่อพยพย้ายถิ่นเข้ามาตั้งถิ่นฐานริมแม่น้ำปิงเมื่อครั้นในอดีต ทำให้พระอุโบสถนี้มีความงดงามจากการผสมผสานวัฒนธรรมไทยและจีนได้อย่างลงตัว แม้พระอุโบสถหลังนี้จะปิดไว้ไม่ให้นักท่องเที่ยวเข้าไปเยี่ยมชมได้ เนื่องจากเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และจะเปิดใช้เฉพาะงานพิธีอุปสมบทเท่านั้น อีกทั้งยังห้ามสุภาพสตรีขึ้นไป แต่นักท่องเที่ยวก็สามารถชื่นชมความงดงามของพระอุโบสถได้จากทางด้านนอก
พระอุโบสถ
พระวิหารหลวง เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน 9 ห้อง สร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ ตัวอาคารมีเสาคู่ในการรองรับหลังคาหน้าจั่วเรียงซ้อนกัน 5 ชั้น ชั้นนอกสุดเป็นมุขคลุมบริเวณหน้าบันไดนาค ส่วนเสาคู่นอกรองรับแนวหลังคาปีกนกย่อเก็จ 3 ตอนในแนวตะวันออก - ตะวันตก โดยแต่ละตัวเสามีลวดลายสีทองงดงาม บริเวณหัวเสาประดับด้วยแก้วอังวะ ส่วนหน้าบันประดับงานไม้แกะสลักลวดลายพรรณพฤกษา ภายในพระวิหารประดิษฐานพระพุทธปางมารวิชัย ทางด้านหลังของพระวิหารประดับด้วยกระจกแก้วสีต่างๆ เกิดเป็นลวดลายสวยงามมาก
พระวิหารหลวง
ศิลาจารึกวัดเกต ตั้งอยู่บนมุขทางใต้ของพระวิหาร มีความกว้าง 58 เซนติเมตร สูง 176 เซนติเมตร หนา 21 เซนติเมตร จารึกด้วยอักษรฝักขามบนหินทรายสีแดง ด้านหน้าของศิลาจารึก อักษรเลือนหายไปหมด เหลือเพียงดวงศิลาจารึก ส่วนด้านหลังของศิลาจารึกยังพอหลงเหลือตัวอักษรอยู่บ้าง
กุฏิพระสงฆ์ สามเณร เป็นอาคารไม้ยกสูงสองชั้นที่มีการผสมผสานวัฒนธรรมหลายส่วนเข้าด้วยกันอย่างลงตัวงดงาม ไม่ว่าจะเป็นวัฒนธรรมตะวันตกจะสังเกตได้จากมีการประดับตัวคิวปิดบริเวณบานประตู หรือจะเป็นศาลพระภูมิที่ได้ต้นแบบทั้งแนวคิดและรูปแบบมาจากพม่า ตัวอาคารมีทางขึ้นเป็นมุขยื่นออกมา 2 ด้าน สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2462 โดยนายจีนอินทร์ และนางจีบ ซิ้มกิวฮั่วเซ้ง เพื่อใช้เป็นโรงเรียนสอนนักธรรมบาลี ปริยัติธรรม ต่อมาไม่มีการเรียนการสอนจึงปรับปรุงให้เป็นกุฏิพระสงฆ์ สามเณร
กุฏิพระสงฆ์
พิพิธภัณฑ์วัดเกตการาม เป็นอาคารไม้เก่าแก่ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2543 จากความร่วมมือของคุณจรินทร์ เบนเและชาวบ้านย่านวัดเกต ทำการบูรณะกุฏิอดีตเจ้าอาวาสให้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ ภายในพิพิธภัณฑ์มีการจัดแสดงของเก่าแก่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นเงินตราที่ใช้ในอดีต ถ้วยโถโอชาม เสื้อผ้าชาวล้านนา พระพุทธรูปเก่าแก่ และภาพถ่ายเมืองเชียงใหม่ครั้งอดีต ที่เมื่อเข้าไปชมแล้วรู้สึกราวกับว่านั่งไทม์แมชชีนไปดูเมืองเชียงใหม่ในอดีตกันเลยทีเดียว
พิพิธภัณฑ์วัดเกตการาม
สำหรับผู้ที่อยากไปเที่ยวชมวัดเกตการามนั้นสามารถเดินทางไปได้ไม่ยาก การเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัวสามารถขับจากตัวเมืองเชียงใหม่ตรงมาที่สะพานนวรัตน์ ข้ามสะพานแล้วให้เลี้ยวซ้ายเลียบตามถนนเจริญราษฎร์ (ถนนริมน้ำปิง) ประมาณ 500 เมตร จะเห็นวัดอยู่ฝั่งขวามือ หรือสามารถนั่งรถสองแถวแดงจากสถานีขนส่งอาเขต เชียงใหม่ มาลงที่หน้าวัดเกตการามได้เลย เสียค่าโดยสารเพียง 15 บาทเท่านั้น โดยวัดเกตการามเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมฟรีทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00 - 16.00 น.
จากที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมด จะเห็นได้ว่าแม้จะผ่านกาลเวลามาหลายร้อยกว่าปี แต่วัดเกตการามยังคงเป็นสถานที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และมีสถาปัตยกรรมล้านนาที่งดงาม จนกลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์รวมจิตใจของผู้คนย่านวัดเกตการามได้เป็นอย่างดี
อ้างอิง
Lady Darika. (2557). นมัสการพระธาตุปีจอที่ “วัดเกตการาม” หัวใจฝั่งตะวันออกของแม่ปิง. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2558, จาก http://www.tripchiangmai.com/
วัดเกตการาม วัดสวยเมืองเชียงใหม่. (2557). วัดเกตการาม วัดสวยเมืองเชียงใหม่. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2558, จาก http://www.chiangmaionly.com/วัดเกตการาม-วัดสวยเชียงใหม่/